“ประเพณีทอดกฐิน” หรือ “การถวายผ้ากฐิน” เป็นประเพณีการทำบุญใหญ่ที่ชาวไทยปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนานในช่วงหลังวันออกพรรษาโดยมีความเชื่อกันว่าผลบุญกุศลของการทอดกฐินจะทำให้มีความสุขชีวิตเจริญรุ่งเรืองไม่ตกต่ำ ทุกสิ่งอย่างจะสำเร็จตามความปรารถนาทั้งในชาตินี้และชาติหน้าและอานิสงส์ของการชวนคนมาร่วมทำบุญทอดกฐินก็จะเสริมให้มีกัลยาณมิตรและบริวารที่ดีมีผู้คนคอยอุปถัมป์ค้ำชูอยู่เสมอ ซินแสเป็นหนึ่งขอเฉลยที่มาของสัญลักษณ์ ที่ซ่อนอยู่ในเทศกาลกฐิน ที่ขาดสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เพราะอะไร ธงจระเข้คาบดอกบัว (โลภ) เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความโลภเพราะปากของจระเข้กว้างใหญ่กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่มแต่ในปัจจุบันพ่อค้าแม่ขายมักจะนิยมนำธงจระเข้มาติดไว้ตามหน้ากิจการร้านค้าเปรียบเสมือนเป็นการดึงดูดเงินทองให้เข้ามาเสริมให้ทำมาค้าคล่องและคอยเตือนสติเพื่อไม่ให้เกิดความโลภในการประกอบอาชีพ ธงตะขาบ (โกรธ) เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความโกรธเพราะตะขาบเป็นสัตว์มีพิษเปรียบเสมือนความโกรธอันร้อนรุ่มที่อยู่ในใจซึ่งถือเป็นเครื่องเตือนสติในการดำเนินชีวิตไม่ให้ความโกรธเข้ามาครอบงำได้ ธงกินรีหรือนางมัจฉาถือดอกบัว (หลง) เป็นตัวแทนของความหลงใหลซึ่งตามความเชื่อของคนโบราณอานิสงส์ของการถวายผ้าแด่พระภิกษุสงฆ์จะส่งผลทำให้มีรูปร่างที่งดงามมีเสน่ห์ผู้คนหลงใหลส่งเสริมด้านเมตตามหานิยมเป็นอย่างดี ธงเต่า (สติปัญญา) เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงสติปัญญาตามความเชื่อของคนโบราณเต่าถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาว...