23 ตุลาคม ความสำคัญของวันปิยมหาราช
วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี ภาษาอังกฤษคือ Chulalongkorn Day เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่คนไทยจะน้อมรำลึกและร่วมกันไปถวายบังคมแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงมีพระเมตตาเป็นล้นพ้น และทรงได้ให้อิสระแก่คนไทยด้วยการสั่งให้มีการเลิกทาส ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า สมเด็จพระปิยมหาราช หรือพระพุทธเจ้าหลวง และกำหนดให้ทุกวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันปิยมหาราช
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 เป็นโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี)เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นกรมขุนพินิตประชานาถ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รุ่นที่ห้าของราชวงศ์จักรี แห่งสยาม (ประเทศไทย) พระองค์ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ศึกษาวิชาต่างๆเช่น ชีววิทยา วิชาดาบ วิศวกรรมศาสตร์ ภาษาอังกฤษและมานุษยวิทยา และเดินทางไปต่างประเทศและศึกษายุโรป และวิทยาศาสตร์การทหาร ในช่วงครองราชย์ 42 ปี พระองค์ทรงริเริ่มขบวนการปฏิรูปการพัฒนาตนเองและความเจริญรุ่งเรือง ทำให้การเมืองและการทหารของไทยเป็นตะวันตก และบรรลุความมั่งคั่ง ความก้าวหน้า สันติภาพและความพึงพอใจของประเทศ นักวิชาการหลายคนเชื่อว่าการกระทำของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราชไว้ได้แม้ว่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสจะมองดูราวกับหมาป่าก็ตาม จนถึงทุกวันนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังคงเป็นหนึ่งในบุคคลที่น่าเคารพนับถือมากที่สุดของคนไทย โดยมีพระราชกรณียกิจสำคัญมากมาย
-การเลิกทาส
เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ที่ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่า มีทาสในแผ่นดินเป็นจำนวนมาก และลูกทาสในเรือนเบี้ยจะสืบต่อการเป็นทาสไปจนรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้ว ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต พระองค์จึงทรงมีพระทัยแน่วแน่ว่า ต้องเลิกทาสให้สำเร็จ แม้จะเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะทาสมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ อีกทั้งเจ้านายที่เป็นใหญ่ในสมัยนั้นมักมีข้ารับใช้ เมื่อไม่มีทาส บุคคลเหล่านี้อาจจะไม่พอใจและก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นเหมือนกับที่เกิดขึ้นในต่างประเทศมาแล้ว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ หรือสมเด็จพระปิยมหาราชจึงตราพระราชบัญญัติขึ้น เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2417 ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีที่พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ มีบัญญัติว่า ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ.2411 ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี และพอครบอายุ 21 ปีก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิง จากนั้นใน พ.ศ.2448 จึงได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า “พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124” (พ.ศ.2448) เลิกลูกทาสในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่ต้องเป็นทาสอีกต่อไป และการซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว ให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาทจนกว่าจะหมดด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน ในเวลาเพียง 30 ปีเศษ ทาสในเมืองไทยก็หมดไปโดยไม่เกิดการนองเลือดเหมือนกับประเทศอื่นๆ
การเลิกไพร่ เลิกทาส
แต่ดั้งเดิมนั้นประเทศไทยของเรา มีพลเมืองที่เป็นชนชั้นทาสมากกว่า 30% ของพลเมืองทั้งประเทศ เนื่องจากการได้รับวรรณะทาสนั้นจะถูกสืบจากสายเลือด หากพ่อแม่เป็นทาส ลูกก็จะเป็นทาสด้วย โดยทาสนั้นแบ่งออกเป็น 7 ประเภทใหญ่ๆ
1.ทาสสินไถ่: เกิดจากการขายตัวเป็นทาส ทาสประเภทนี้มักยากจน
2.ทาสในเรือนเบี้ย: เกิดจากการที่แม่เป็นทาส พ่อเป็นนายทาส
3.ทาสมรดก: เกิดจากการส่งต่อมรดกของนายทาสที่เสียชีวิตลง ส่งให้นายทาสคนต่อไป
4.ทาสท่านให้: ทานที่ได้รับมาจากผู้อื่น
5.ทาสทัณฑ์โทษ: กรณีที่บุคคลนั้นถูกลงโทษ แต่ไม่สามารถหาเงินมาชดใช้ได้หมด ถ้าหากมีนายทาสมาช่วยเหลือ ถือว่าบุคคลนั้นกลายเป็นทาสของนายทาสคนนั้น
6.ทาสที่ช่วยไว้จากความอดอยาก: คือการขายตนเองให้นายทาส เพื่อหลีกหนีจากความอดอยากที่เผชิญอยู่
7.ทาสเชลย: เกิดจากการที่ประเทศหรือพลเมืองนั้นๆ แพ้สงคราม จึงถูกผู้ชนะสงครามนำคนเหล่านั้นไปเป็นทาสรับใช้
การจะหลุดออกจากการเป็นทาสนั้นมี 6 วิธี
1.การหาเงินมาไถ่ถอนตนเอง
2.การบวชที่ต้องได้รับการยินยอมจากนายทาส
3.การหลบหนีจากการเป็นเชลยในสงคราม
4.การแต่งงานกับชนชั้นสูงกว่า
5.การแจ้งความนายจ้างว่าเป็นกบฏ และตรวจสอบว่าเป็นจริง
6.การประกาศจากรัชกาลที่ 5 ให้มีการเลิกทาส
-การปฏิรูประเบียบบริหารราชการ
ได้ทรงปรับปรุงหน้าที่ของกรมต่างๆที่มีอยู่แต่เดิมให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยรวมกรมต่างๆที่มีอยู่มากมายเวลานั้นเข้าเป็นกระทรวง กระทรวงหนึ่งๆก็มีหน้าที่อย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างพอเหมาะสม
-โครงสร้างพื้นฐาน
ยุคจุฬาลงกรณ์(ร.5)ยังเป็นยุคแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของสยามอีกด้วย การก่อสร้างทางรถไฟตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 เชื่อมโยงพื้นที่การผลิตข้าวหลักของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยากับพื้นที่ปลูกข้าวที่เกิดขึ้นใหม่ทางตอนกลางและทางเหนือ อีกทั้งการส่งออกข้าวยังกลายเป็นแหล่งรายได้ที่ใหญ่ที่สุดของสยามอีกด้วย เพราะการทรงงานหนักของจุฬาลงกรณ์(ร.5) ทรงปฏิรูปและด้วยความกล้าได้กล้าเสียของพระองค์ ภายในปี พ.ศ.2452 ก่อนจุฬาลงกรณ์(ร.5)จะสิ้นพระชนม์ รายได้ทางการคลังของสยามได้สูงถึง 60 ล้านบาท ในช่วงเวลานี้ชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามายังสยามเพื่อหาเลี้ยงชีพ ในฐานะที่เป็นชนชาติของราชวงศ์ชิงแห่งอาณาจักรซีเลสเชียล ผู้อพยพจำนวนมากอพยพไปยังรัฐเล็กๆ ของสยาม ซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน
-การคมนาคม
ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนบำรุงเมือง ถนนที่ทรงสร้างใหม่คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น
-การปฏิรูปสถาบัน
ในสมัยรัชกาลที่ 5 พุทธศักราช 2417 มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษา สำหรับพระมหากษัตริย์เพื่อใช้ปรึกษาหารือข้าราชกาลต่างๆ และต่อมามีการยกเลิกระบบขุนนางและระบบศักดินา โดยการกระจายสู่ท้องถิ่น ดังนั้นตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ระบบการเมืองสมัยใหม่ของไทยจึงเริ่มเป็นรูปร่าง
-การปกครองท้องถิ่น
มีการดำเนินการในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 18 มณฑล โดยแต่ละมณฑลประกอบด้วย เมือง อำนาจ ตำบล หมู่บ้าน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
-การเงิน
สมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งหน่อยงานที่เกี่ยวข้องกลับการจัดเก็บภาษีเรียกว่า “หอรัษฎากรพิพัฒน์” เพื่อรวบรวมภาษีของทั้งประเทศ และมีการจัดเก็บภาษีอย่างเคร่งครัดมีการใช้ธนบัตรเกิดขึ้นในสมัยนั้น
-ระบบที่ดิน
ภาษีที่ดินประกาศใช้โดยรัชกาลที่ห้าขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่มากกว่าการเก็บเกี่ยวธัญพืชซึ่งทำให้ภาษีที่ดินของรัฐมีเสถียรภาพมากขึ้น
-การศึกษา
ทรงโปรดให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง แล้วมีหมายประกาศชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการให้ส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนภาษาไทยนี้
-การศาล
ทรงตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เพื่อรวบรวมศาลต่างๆให้มาขึ้นอยู่ในกระทรวงเดียวกัน
-การสงครามและการเสียดินแดน
ท่านทรงควบคุมการเสียดินแดนของไทย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็พยายามทำให้ได้ประโยชน์จากการเสียดินแดนให้มากที่สุด
-การเสด็จประพาส
ระหว่างที่ยังมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้เสด็จประพาสต่างประเทศหลายที่ เพื่อดูแบบอย่างการปกครอง และนำมาแก้ไขดัดแปลงใช้ในประเทศของเราบ้าง
-การศาสนา
ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภกโดยแท้จริงในด้านพระพุทธศาสนา
-การวรรณคดี
ทรงเป็นนักประพันธ์ ซึ่งมีความชำนาญทั้งทางร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่น ไกลบ้าน ลิลิตนิทราชาคริต เงาะป่า พระราชพิธีสิบสองเดือน เป็นต้น
ในวันปิยมหาราชของทุกปี หน่วยงานราชการและหน่วยงานต่างๆจะนำพวงมาลาดอกไม้ไปสักการะที่พระบรมรูปทรงม้า เพื่อที่จะรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมจัดพิธีน้อมรำลึกอีกด้วย ซึ่งประชาชนทั่วไปก็สามารถนำดอกไม้เข้าไปสักการบูชาได้เช่นกัน ส่วนใหญ่มักจะเลือกดอกกุหลาบสีชมพูเพราะเป็นดอกไม้ที่เป็นสีเดียวกับวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 5
#วันปิยมหาราช #23ตุลาคม #ปิยมหาราช #วันเลิกทาส #เลิกทาส