เรื่องราวของผู้นำโครงการอิสลามระดับโลก ผ่านการสื่อสารที่มีอาระยธรรม
และการเผยแผ่วัฒนธรรมการเสวนา อัล-อีซา และการสร้างวาทกรรมสายกลางจากมักกะห์ถึงเอเชียตะวันออก
การแต่งตั้ง ฯพณฯ ชีค ดร.มูฮัมหมัด บิน อับดุล คาริม อัล-อีซา ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลก ซึ่งเป็นองค์กรอิสลามที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มีการศึกษามาแล้วอย่างรอบคอบ
ชีค อัล-อีซา ได้รับการศึกษาอย่างถ่องแท้ในด้านกฎหมายชารีอะห์ และยังได้รับตำแหน่งระดับสูงในราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ทำให้ท่านกลายเป็นหนึ่งในอุลามาอฺและนักกฎหมายอิสลามที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ไม่ใช่แค่ในระดับประเทศซาอุดีอาระเบียเท่านั้น แต่ชื่อเสียงของท่านได้โด่งดังในระดับโลก
ชีค อัล-อีซา ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรมและสมาชิกของสภาอุลามาอฺอาวุโส ซึ่งเป็นองค์กรแรกที่เป็นแนวทางของคำวินิจฉัย (ฟัตวา) ในประเทศซาอุดีอาระเบีย และสำหรับชาวมุสลิมหลายคนทั่วโลก การทำงานในตำแหน่งสำคัญนี้ทำให้ท่านได้รับประสบการณ์มากมายนอกเหนือจากความรู้ที่ท่านได้รับจากอุลามาอฺอาวุโสในซาอุดีอาระเบีย สิ่งเหล่านี้ทำให้ท่านมีทั้งความรู้ที่แข็งแกร่งและทักษะการบริหารที่ดี ซึ่งทำให้ท่านได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลก
ตั้งแต่ที่ท่าน อัล-อีซา ได้ความมั่นใจในการรับตำแหน่งที่สำคัญนี้ ท่านได้นำองค์การสันนิบาตมุสลิมโลก ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่มักกะห์ อัล-มูคาร์รามะห์ เปลี่ยนจากกรอบการทำงานแบบดั้งเดิมไปสู่ขอบฟ้าที่กว้างและเป็นมิตรมากขึ้น ท่านยังได้แก้ไขข้อเข้าใจผิดมากมายที่บิดเบือนภาพลักษณ์ของอิสลามสายกลาง
ชีค ดร.อัล-อีซา นั้นดำรงตำแหน่งอีกมากมายนอกเหนือจากเลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลกเช่น ประธานสมาคมอุลามาอฺมุสลิมและประธานสมาคมมหาวิทยาลัยอิสลาม ท่านเป็นต้นแบบสำหรับการเริ่มต้นใหม่ตามนโยบาย Vision 2030 ของประเทศซาอุดีอาระเบีย
ท่านยังเป็นผู้นำในโครงการตื่นรู้ (Enlightening Project) ซึ่งเริ่มโดยประเทศซาอุดีอาระเบีย เพื่อแก้ไขข้อเข้าใจผิดและนำเสนอภาพที่แท้จริงของศาสนาอิสลามที่เรียกร้องการอยู่ร่วมกันและให้ความสำคัญกับการเสวนาเพื่อวิธีการรักษาความเข้าใจเหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไป
ดร.มูฮัมหมัด อัล-อีซา เป็นเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศที่ดูแลองค์กรระว่างประเทศซึ่งดูแลเกี่ยวกับการเสวนา การคงอยู่ร่วมกัน และการยอมรับความต่างระหว่างศาสนา ผู้คน และเชื้อชาติ องค์การสันนิบาตมุสลิมโลก และองค์กรต่าง ๆ ในเครือ นั้นทำงานเกี่ยวกับการเสวนา เผยแผ่หลักอิสลามสายกลาง มอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และจัดการการเสวนาในงานประชุมระดับโลก
ด้วยสติปัญญาและการมองการณ์ไกลของ ชีค อัล-อีซา ท่านได้ตระหนักถึงคุณค่าของเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของโลกอิสลาม มีประเทศที่มีจำนวนประชากรสูง มีความก้าวหน้าทันสมัยในทุกระดับ และประชาชนมีความโน้มเอียงไปในด้านวาทกรรมสายกลาง และกีดกันลัทธิหัวรุนแรงและการก่อการร้าย
มีการจัดงานประชุมเสวนา งานประชุม และงานสัมมนาหลายครั้งเกี่ยวกับเรื่องนี้ และส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างมาก และงานที่สำคัญที่สุดคงเป็นงานประชุมเสวนา “เยาวชนแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือ Youth of Southeast Asia ซึ่งจัดโดย ฯพณฯ ชีค ดร.มูฮัมหมัด บิน อับดุล คาริม อัล-อีซา โดยผลลัพธ์ของงานมีการให้คำแนะนำในการส่งเสริมบทบาทของเยาวชนในการส่งเสริมการยอมรับความแตกต่างของศาสนาอิสลามและการเผยแผ่ศาสนาอิสลาม
บทบาทขององค์การสันนิบาตไม่ได้มีเพียงแค่การจัดงานประชุมเสวนาเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการบันทึกประวัติศาสตร์อิสลามในด้านตะวันออกของทวีปเอเชียผ่านการเซ็นสัญญาความตกลงระหว่างองค์การสันนิบาตมุสลิมโลกและมูลนิธิชีวประวัติของท่านศาสดา (Biography of the Prophet Foundation) ในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์และจัดนิทรรศการเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านศาสดาและอารยธรรมอิสลามในกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นต้นแบบของพิพิธภัณฑ์ที่องค์การสันนิบาตจะจัดตั้งไปทั่วโลก
หนึ่งในคุณูปการล่าสุดขององค์การสันนิบาตมุสลิมโลกภายใต้การนำของนักวิชาการที่น่านับถืออย่างท่าน อัล-อีซา คือการจัดงานประชุมเสวนาอุลามาอฺแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Forum of Ulama of Southeast Asia) ซึ่งจัดโดยประเทศมาเลเซียภายใต้การสนับสนุนของ ฯพณฯ ดาโตะ ซรี อิซมาอิล ซาบรี ยาคบ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
คำกล่าวของ ฯพณฯ ดร.อัล-อีซา ได้ยืนยันว่างานประชุมครั้งนี้มีความพิเศษอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นการรวมตัวของอุลามาอฺจากประเทศที่มีความสำคัญทั้งบนแผนที่ของโลกอิสลามและโลกทั้งหมด “ซึ่งก็คือประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
การประชุมครั้งสำคัญนี้มีความโดดเด่นเพราะมันถูกจัดขึ้นในประเทศมาเลเซีย ซึ่งทุกคนได้ให้ความเห็นว่า เป็นแบบอย่างแห่งความปรองดองระหว่างองค์ประกอบด้านศาสนาและชาติพันธุ์ทั้งหมดในประเทศ
การประชุมนี้จะเป็นการเริ่มต้นที่ดีของการจัดตั้งสภาถาวรเพื่อการพบปะของอุลามาอฺเป็นครั้งคราวภายใต้การสนับสนุนของศูนย์รวมของชาวมุสลิมทั่วโลก ซึ่งก็คือองค์การสันนิบาตมุสลิมโลกซึ่งมีซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่มักกะห์ อัล-มูคาร์รามะห์
หนึ่งในผลลัพธ์ที่สำคัญที่สุดของการประชุมนานาชาติครั้งนี้คือการที่ ฯพณฯ นายกรัฐมตรี ดาโตะ ซรี อิซมาอิล ซาบรี ยาคบ ได้อนุมัติให้จัดตั้งสภานี้ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ รวมถึงการให้การสนับสนุนและเปิดการประชุมครั้งแรกของสภานี้ในปีหน้า
คำแถลงของการประชุมที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ได้สรุปนโยบายขององค์การสันนิบาตมุสลิมโลกภายใต้การนำของท่าน อัล-อีซา ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนความจริงที่ว่า ความสัมพันธ์และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของมนุษย์นั้นมีพื้นฐานมาจากหลักการที่ติดตัวมาแต่กำเนิด รวมถึงความรักในความมั่นคง สันติภาพ ความยุติธรรม และความเท่าเทียมกัน
และมนุษย์ทุกคนต้องทราบว่าความแตกต่างระหว่างพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น สีผิว ประเพณี ความเชื่อ วัฒนธรรม หรือศาสนา นั้นไม่ใช่ต้นเหตุของความแตกต่างและความขัดแย้ง เพราะเราทุกคนต่างเป็นพี่น้องกันในมนุษยชาติ และเราพอใจที่จะรักษาความมั่นคงและอยู่ร่วมกันอย่างสันติในโลกใบนี้
นี่เป็นข้อเรียกร้องที่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นหนึ่งในจุดประสงค์ของกฎหมายชารีอะห์ ที่ทุกภาคส่วนในชาติอิสลามจ้องสนับสนุนและปฏิบัติตาม จุดเริ่มต้นของวาทกรรมจากมักกะห์สู่เอเชียตะวันออกเป็นสัญญาณบอกถึงคุณค่าของความลึกซึ้งของศาสนาอิสลาม และยังเป็นจุดเริ่มต้นเชิงกลยุทธ์สำหรับวาทกรรมสายกลางที่ต่อสู้กับความบ้าคลั่งและแนวคิดหัวรุนแรง และสร้างค่านิยมของการอยู่ร่วมกัน สันติภาพ และความรัก
งานประชุมเสวนา “ค่านิยมร่วม”
การประชุมเสวนา “ค่านิยมร่วมของผู้นับถือศาสนาที่แตกต่าง” หรือ Shared Values among Followers of Religions จัดโดยองค์การสันนิบาตมุสลิมโลกในกรุงริยาด โดยมีการมีส่วนร่วมจากผู้นำทางศาสนาจากทั่วทุกมุมโลกในเดือนเชาวาลที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการรวมบทบาทขององค์การสันนิบาตมุสลิมโลกในฐานะขององค์กรอิสระระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่ค่านิยมของศาสนาอิสลาม และเรียกร้องถึงความดีงามของมนุษยชาติ และการร่วมมือกันของคนทุกคนในการส่งเสริมสิ่งที่มนุษย์ทุกคนมีเหมือนกันเพื่อสร้างโลกแห่งความร่วมมือและสันติสุข และสร้างสังคมแห่งความสามัคคีและการอยู่ร่วมกัน โดยเริ่มจากประเทศซาอุดีอาระเบีย ดินแดนแห่งความสว่างไสว และดินแดนแห่งการสื่อสารของศาสนาอิสลามและของมนุษย์
ฯพณฯ ชีค ดร.มูฮัมหมัด บิน อับดุล คาริม อัล-อีซา เลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลก ได้ใช้ความสามารถในด้านการปฏิบัติ ความฉลาดทางสติปัญญา และความแตกฉานด้านศาสนา ในการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของศาสนาทุกศาสนาในโลก และสร้างปัญญาในทางสายกลางในหมู่ประชาชน ความสามารถของท่านเป็นหนึ่งในเสาหลักที่สำคัญที่สุดของผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ ในกรุงริยาด เพราะท่านได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในนักวิชาการมุสลิมที่โดดเด่นที่สุดที่สนับสนุนคำสอนของศาสนาอันยิ่งใหญ่ของพวกเรา และเรียกร้องการเสวนาและความร่วมมือ โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้เข้าร่วมที่สนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างเหมาะสมในโลกของเราเพื่อความหลากหลายทั้งหมดของมนุษย์
กฎบัตรมักกะห์
กฎบัตรมักกะห์ เป็นหนึ่งในผลงานที่โดดเด่นของ ฯพณฯ ชีค ดร.มูฮัมหมัด บิน อับดุล คาริม อัล-อีซา เลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลก เนื่องจากเป็นมติเอกฉันท์ของศาสนาอิสลามฉบับแรกที่รวมความเห็นของปราชญ์ชารีอะห์เกี่ยวกับประเด็นร่วมสมัยที่สำคัญ และท่านได้ดูแลการจัดเตรียมและการออกประกาศพร้อมลายมือชื่อของอุลามาอฺจากนิกายอิสลามทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของกฎบัตรนี้ กฎบัตรนี้ยังได้แสดงถึงการสร้างเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและการอยู่ร่วมกันทั่วโลก ซึ่งเป็นสื่งที่ ฯพณฯ ดร.อัล-อีซา กำลังทำงานเพื่อการส่งเสริมรวมตัวกันของประเทศต่าง ๆ เนื้อหาของกฎบัตรมักกะห์ อัล-มูคาร์รามะห์ นั้นรวมถึงการเรียกร้องการอยู่ร่วมกันอย่างมีสิทธิ์และหน้าที่อย่างเต็มที่โดยเน้นที่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิ์ในการมีชีวิตอยู่โดยเสรีภาพตามกฎหมาย นอกเหนือไปจากการเสวนาและการเป็นพันธมิตรของอารยธรรมต่าง ๆ ท่านยังได้เรียกร้องถึงความสำคัญของการเคารพการคงอยู่ของความหลากหลาย โดยไม่สนใจทฤษฎีความบังเอิญและการปะทะทางอารยธรรม ภายใต้การดูแลของท่านในการออกกฎบัตรมักกะห์ อัล-มูคาร์รามะห์ มุฟตี และ อุลามาอฺ กว่า 1,200 คน ซึ่งเป็นตัวแทนของ 27 นิกายของปราชญ์ชารีอะห์ที่มีความหลากหลายใน 139 ประเทศ ได้ลงนามในกฎบัตรนี้โดยไม่มีข้อยกเว้น และสิ่งนี้ถือเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ขององค์การสันนิบาตมุสลิมโลก และ ฯพณฯ ดร.อัล-อีซา
การเยือนเอเชียตะวันออก
การเยือนประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกของ ฯพณฯ ชีค ดร.มูฮัมหมัด บิน อับดุล คาริม อัล-อีซา เลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลก นั้นเกิดขึ้นตามเป้าหมายอันสูงส่งขององค์การสันนิบาตในการรักษาอัตลักษณ์อิสลามของอุมมะห์ ยกระดับตัวองค์การในระดับโลก และบรรลุความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ท่านได้เยือนประเทศไทยตามคำเชิญอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลไทย โดยมีเป้าหมายที่จะเริ่มต้นความร่วมมือระหว่างกันผ่านโครงการริเริ่มและโครงการต่าง ๆ ซึ่งเป็นเสาหลักที่สำคัญที่สุดที่ ดร.อัล-อีซา กำลังพยายามทำให้สำเร็จผ่านการเผยแผ่วัฒนธรรมอิสลามและเผยแผ่คำสอนของหลักชารีอะห์ที่ยอมรับความแตกต่าง และท่านได้ทำตามเป้าหมายด้วยการพบปะกับผู้นำศาสนาประเทศไทยจากทั้ง “ศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ” ท่านได้เสวนากับผู้นำทางจิตวิญญาณของศาสนาพุทธในและผู้นำของคณะกรรมการกลางอิสลามในเรื่องของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการยอมรับความต่างทางศาสนาในกลุ่มประชาชน
การเยือนสาธารณรัฐมัลดีฟส์ของ ชีค ดร.มูฮัมหมัด บิน อับดุล คาริม อัล-อีซา แสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจต่อองค์การสันนิบาตมุสลิมโลกในหมู่ผู้นำและประชาชนทั่วโลก ท่านได้ตอบรับคำเชิญของ ฯพณฯ ท่าน อิบราฮิม โซลิห์ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐมัลดีฟส์ และการเยือนมัลดีฟส์จะเป็นการเริ่มต้นของการจัดโครงการเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม นิทรรศการชีวประวัติของท่านศาสดา และเวิร์กช็อปเกี่ยวกับกฎบัตรมักกะห์ อัล-มูคาร์รามะห์ ในประเทศมัลดีฟส์และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
เกียรติประวัติ
ด้วยความชื่นชมในความพยายามของท่านในการทำงานเพื่ออิสลามและสันติของโลก โดยอ้างอิงจากผลงานของศูนย์เผยแผ่ศาสนาอิสลามและสันติ (Center for Radiation of Islam and Peace) ณ สำนักงานใหญ่องค์การสันนิบาตมุสลิมโลกในเมืองมักกะห์ อัล-มูคาร์รามะห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ฯพณฯ ชีค ดร.อัล-อีซา ได้รับเหรียญเกียรติยศแห่งสาธารณรัฐมัลดีฟส์ ในระหว่างการเยือนสาธารณรัฐมัลดีฟส์ ซึ่งท่านได้พบปะกับผู้นำศาสนาอิสลามและศาสนาอื่น ๆ และได้หารือเกี่ยวกับการจัดโครงการความร่วมมือเพื่อวัตถุประสงค์ด้านศาสนาและมนุษยชาติ
ดร.อัล-อีซา ยังได้เยือนศูนย์อิสลามในกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของประเทศกัมพูชา และพบปะกับผู้นำศาสนาอิสลามที่ได้ชื่นชมผลงานขององค์การสันนิบาตมุสลิมโลกที่พบเห็นได้ทั่วโลก พวกเขาได้แสดงถึงความภาคภูมิใจในชื่อเสียงขององค์การสันนิบาตในหมู่ผู้นำทางการเมือง ผู้นำในรัฐสภา และผู้นำทางศาสนาอื่น ๆ ในประเทศกัมพูชา ในด้านการเป็นแบบอย่างให้กับนานาประเทศ และเป็นที่ต้อนรับในทั่วทุกมุมโลก และได้ส่งผลกระทบเชิงบวกกับชาวมุสลิมซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศ
ชีค อัล-อีซา ได้ให้โอวาทที่มัสยิดใหญ่ในกรุงพนมเปญ โดยมีผู้เข้าร่วมหลายร้อยคน และยังสร้างผลกระทบอย่างมากแก่ผู้เข้าร่วมเพราะการมาเยือนของท่านได้ส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างผู้นับถือศาสนาที่ต่างกัน โดยงานนี้ได้ถูกอธิบายว่าเป็น “ประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่สำหรับชาวกัมพูชา ได้รับการมาเยือนจากบุคคลสำคัญในศาสนาอิสลามเป็นครั้งแรกในเมืองพุทธแห่งนี้”
บุคคลแห่งปี
เพื่อเป็นการตอบแทนคุณูปการอันยิ่งใหญ่ของท่านต่ออิสลามและชาวมุสลิม ในการส่งเสริมหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและหลักศาสนาสายกลาง สหพันธรัฐมาเลเซียได้มอบรางวัลฮิจเราะห์ของท่านศาสดา (Hijra of The Prophet) ให้แก่ ดร.มูฮัมหมัด บิน อับดุล คาริม อัล-อีซา เลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลก ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับบุคคลสำคัญทางศาสนาอิสลามที่ทรงอิทธิพลที่สุดในระดับนานาชาติ เพื่อตอบแทนคุณูปการในการเผยแผ่ภาพลักษณ์ที่แท้จริง หลักการ และค่านิยมอันสูงส่งของอิสลาม รางวัลนี้ได้มอบให้แก่ท่าน อัล อีซา เนื่องจากคุณูปการของท่านในการส่งเสริมความสามัคคีกันระหว่างผู้คนที่มีศาสนาและวัฒนธรรมต่างกัน รวมถึงบทบาทของท่านในการเผยแผ่สันติภาพของโลกอีกด้วย
ชีค ดร.มูฮัมหมัด อัล-อีซา มีบทบาทสำคัญต่อศาสนาอิสลามและช่วยแสดงถึงภาพลักษณ์ที่แท้จริงของศาสนาต่อผู้คนทั่วโลก ด้วยการแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิดของชาวมุสลิมและความหวังของพวกเขาในการบรรลุเป้าหมายที่สูงกว่าเดิม ท่านเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนศาสนาอิสลามที่โดดเด่นและกระตือรือร้นมากที่สุดในการทำงานเพื่อโลกอิสลาม โดยท่านเริ่มจากเสี้ยวหนึ่งของความสนใจในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม และเริ่มทำงานเพื่อแก้ปัญหาให้กับชาวมุสลิมเพื่อผมประโยชน์และความหวังของพวกเขา