ถอดบทเรียน “HOMEROOM 29 ตัวประกัน” : พื้นที่ปลอดภัยในโรงเรียนกับปัญหาการบูลลี่

ถอดบทเรียนนอกห้องเรียน “HOMEROOM 29 ตัวประกัน” กิจกรรมดี ๆ นอกจากดูซีรีส์ ตีแผ่ผลของการบูลลี่ที่ไม่ควรเกิดในสังคม

บริษัท จูเวไนล์ จำกัด ร่วมกับ ทรู ไอดี จับมือกับ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมดี ๆ Exclusive Talk “ถอดบทเรียนนอกห้องเรียน HOMEROOM 29 ตัวประกัน” ไปเมื่อวันก่อน ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ นำโดย ผู้กำกับ วิรดา คูหาวันตุ์ นักแสดงมิว-ศุภศิษฏ์ จงชีวีวัฒน์ , เจน-กุลจิราณัฐ วรรักษา , เจเจ-รัชพล พรพินิต ร่วมด้วย อ.ชเนตตี ทินนาม อาจารย์ประจำวิชา Media Art for Social Change และ ปภาวดี แสงกระจ่าง นักจิตวิทยาคลินิก ดำเนินกิจกรรมโดยพิธีกรคนเก่ง แพรว-หัสยา อิสริยะเสรีกุล

ซึ่งงานนี้เป็นการต่อยอดจากการรับชมซีรีส์ดราม่าระทึกขวัญชวนติดตาม “HOMEROOM 29 ตัวประกัน” เนื้อหาตีแผ่ผลกระทบของการบูลลี่ พร้อมร่วมไขปริศนาสืบหาว่าใครฆ่า เรนิตา ที่ยิ่งหาคำตอบยิ่งซับซ้อนกว่าที่คิด ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ชมได้ตระหนักและเกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นจากการเรียนรู้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการถูกบูลลี่

โดยกิจกรรมนี้เป็นการจัดเสวนากว่า 2 ชั่วโมงเพื่อให้ผู้ชมทางบ้านที่ได้รับการคัดเลือกจากการตอบคำถาม คุณได้อะไรจากซีรีส์ HOMEROOM 29 ตัวประกัน และน้อง ๆ นิสิตจุฬาฯ ที่ผ่านการคัดเลือกได้เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด มุมมอง แง่คิดต่าง ๆ ร่วมกับทีมผู้กำกับ นักแสดง อาจารย์และ นักจิตวิทยา ซึ่งบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ใกล้ชิดสุด ๆ และเนื้อหาสาระที่ค่อนข้างหนัก แต่ทุกคนก็ได้รับเรื่องราวดี ๆ กลับไปกันอย่างเต็มที่ เพราะทุกคนต่างแชร์มุมมอง ประสบการณ์ทั้งในซีรีส์และในชีวิตจริงว่าแต่ละคนผ่านการถูกบูลลี่และรับมือกับเหตุการณ์เหล่านั้น รวมไปถึงการที่เราจะเป็นส่วนหนึ่งในการยับยั้งการเกิดการบูลลี่ได้อย่างไร กันแบบหมดเปลือกชนิดภายใต้รอยยิ้มที่เห็น อาจมีน้ำตาซ้อนอยู่ เพราะทุก ๆ องค์ประกอบในสังคมมันเชื่อมร้อยไปด้วยกันเหมือนกับในซีรีส์เรื่องนี้พยายามสื่อสาร

มิว ศุภศิษฏ์ เล่าในงานส่วนหนึ่งว่า “ หนึ่งในเหตุผลที่รับเล่นซีรีส์เรื่องนี้ เพราะเราเคยมีประสบการณ์กับการถูกบูลลี่มา และเราสามารถตีแผ่สิ่งเหล่านี้ได้ โดยการใช้ประสบการณ์ส่วนตัวเป็นข้อมูลบ้างอย่างในการเป็นตัวละครได้ เหมือนพอได้อ่านบทมาทำคาแรคเตอร์ มันมีคำหนึ่งที่มันผุดขึ้นมาแล้วมันส่งไปถึงตัวละคร เรน คือคำว่า ล่าแม่มด ซึ่งเราอาจจะใช้คำนี้ในโลกไซเบอร์บูลลี่กัน แต่จริง ๆ แล้วก็ใกล้เคียงในประวัติศาสตร์ ทำให้เราต้องไปดูว่าการล่าแม่มดในอดีต เช่นมีโรคระบาด ภัยธรรมชาติ ความคัดแย้งในสังคม ซึ่งในอดีตเราไม่รู้จะอธิบายสิ่งเหล่านี้ได้ยังไง เราไม่รู้สาเหตุว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร สิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุดในตอนนั้นคือการหาแพะรับบาป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปบุคคล คนนึง อย่างที่ตัวละครเรนเจอ หรือเป็นคนกลุ่มหนึ่งที่คิดต่างจากคนที่ตัดสินสิ่งเหล่านี้ขึ้นมามันก็เลยเกิดการล่าแม่หมดขึ้นมา ซึ่งมันเหมือนไซเบอร์บูลลี่ในปัจจุบันมาก ๆ ที่เมื่อเกิดความขัดแย้งในเรื่องบางเรื่องแบ่งฝ่ายทางความคิดบนโลกออนไลน์ขึ้นมา เรามักจะหาคนผิด ซึ่งคำถามคือคนนั้นผิดจริงหรือไม่ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สิ่งเหล่านั้นมันเป็นสิ่งที่ตัวละครเรนหรือใครหลายคน รวมทั้งตัวผมเองได้เจอบนไซเบอร์บูลลี่ หรือว่าในการบูลลี่ทางกายภาพ คนที่โดนเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่าผิดซึ่งไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจริงหรือไม่ก็จะโดนกดดันทุกทาง ให้เกิดความหวาดกลัว เจ็บปวด จนในที่สุดก็ต้องกลายเป็นคนผิดกลายเป็นเหยื่อแบบไม่มีทางเลือก ซึ่งไซเบอร์บูลลี่ในปัจจุบันการที่คน ๆ นึงโดนตีตราว่าผิดจากสังคมว่าเป็นแบบหนึ่งในสิ่งที่เขาไม่ได้เป็น แล้วเขาออกมาแก้ต่าง สิ่งที่คนอื่นทำก็คือจะบอกว่าออกมาแก้ตัว ทำไมไม่ยอมรับสารภาพ ขอโทษก็จบแล้ว สุดท้ายโดนกดดันจากสังคมยอมขอโทษ ก็จะโดนต่ออีดว่า ก็นี้ไง ก็บอกแล้วว่าที่ยอมขอโทษเพราะมันเป็นอย่างที่พูดไง คิดไม่ผิดเลยเป็นแบบนั้นจริง ๆ บริบทเหมือนกับการล่าแม่มดสมัยก่อนมากเลยคับ สิ่งที่อยากให้เห็นคือการไซเบอร์บูลลี่ คือ การที่เราไม่ได้คิดอะไรแค่แวะเข้าไปคอมเมนต์หน่อย แล้วจากไป แต่แผลที่มันเกิดกับคน ๆ หนึ่งมันเยอะมากทางจิตใจ เทียบเท่ากับการทรมานในการล่าแม่มดในอดีต อันนี้เลยอยากจะบอกว่ามันมีผลมาก ๆ จริง ๆ”

เจเจ รัชพล เผยต่อว่า “ อยากให้ทุกคนที่ได้ดู หรือผ่านมาเห็นซีรีส์ HOMEROOM 29 ตัวประกัน ได้ตระหนักถึงการบูลลี่ว่า เราสนุกแค่ชั่วคราว หรือเราเอาสะใจแค่แป๊บเดียว มันสร้างบาดแผลให้คนที่เขาโดนหนักมาก บางทีเราชอบแบบว่า ขอให้โลกนี้ใจดีกับเรา โลกนี้ใจร้ายจัง แต่ลืมคิดไปเลยว่าเราไม่ได้ใจดีกับคนอื่นเลยนะ แม้แต่ว่าอะไรที่มันเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่คุณพิมพ์ หรือกดหัวเราะอะไรแบบนี้ บางทีคุณก็กำลังใจร้ายกับคนอื่นอยู่ก็เป็นได้ ก็อยากให้คิดทบทวนกันก่อนจะทำอะไรให้มากขึ้น ซึ่งผมเองก็ได้ความคิดตรงนี้มาจากการเล่นซีรีส์เรื่องนี้ด้วยเช่นกัน ก็อยากให้ใครที่ยังไม่ได้ดูลองไปติดตามชมกันคุณอาจจะได้แง่คิดดี ๆ มากขึ้นเพิ่มเติมจากที่ผมได้ก็ได้ครับ ฝากด้วยครับ”

ปิดท้ายด้วย เจน กุลจิราณัฐ ว่า “ในฐานะที่เป็นตัวละคร เรนิตา และในชีวิตจริงเจนเองก็เคยผ่านเหตุการณ์คล้าย ๆ กับที่เรนิตา เจอ ถ้าจะให้บอกอะไรถึงคนที่ทำ คนที่บูลลี่เรา ก็อยากจะบอกว่า เอาง่าย ๆ ถ้าทุกคนที่ทำลงไปในสิ่งมันไม่ดี ทุกคนลองส่องกระจกดูตัวเอง เหมือนเราคุยกับตัวเอง ว่าเราพูดใส่เขาไปแต่ตรงนั้นมันคือเรา เราจะรู้สึกอย่างไร เราจะกล้าพูดคำพูดแบบนี้ใส่คนนั้นไหม ดังนั้นก่อนที่จะพูด ก่อนที่จะพิมพ์ แค่ลองพูดกับตัวเองคำนั้นไป เรารู้สึกยังไงบ้างกับคำเหล่านั้น แค่เสี้ยวเดียว แค่เรารู้สึกเอ๊ะ แปลว่าเรารู้สึกกับมัน เราคนที่โดนคำพูดนี้ของเราเขาจะรู้สึกกับมันขนาดไหน ก็อยากให้ลองไตร่ตรองกันให้มากขึ้นก่อนจะทำอะไรลงไปค่ะ เพราะสิ่งที่เราคิดว่าเล็ก ๆ มันอาจจะกลายเป็นแผลใหญ่ เป็นส่นหนึ่งในการทำลายชีวิตคนได้เหมือนกัน”

About Author