“รางวัลอรรธนารีศวร” ยกย่อง เชิดชูเกียรติ การขับเคลื่อนความหลากหลายทางเพศในระดับชาติและนานาชาติ
การประชุม “เสวนาอรรธนารีศวร”และ’งานมอบรางวัลอรรธนารีศวร” ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2567 ยกย่อง เชิดชูเกียรติ และส่งเสริมการขับเคลื่อนความหลากหลายทางเพศในระดับชาติและนานาชาติ
กรุงเทพฯ – สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย (RSAT) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาสังคม จัดการประชุม “เสวนาอรรธนารีศวร”และ’งานมอบรางวัลอรรธนารีศวร” ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2567 ภายใต้แนวคิด “พลิกโฉมเอเชีย ยกระดับความเท่าเทียมด้วยการรับรองเพศสภาพ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2567 ณ ห้องประชุม ชั้น 10 กระทรวงยุติธรรม
“การมีกฎหมายรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ จะเป้นเครื่องยืนยันว่าประเทศไทยสร้างความเท่าเทียมให้กับคนทุกกลุ่มอย่างแท้จริง เพราะกลุ่มคนข้ามเพศ นอนไบนารี อินเตอร์เซ็กส์คือกลุ่มคนที่ยังเผชิญการตีตราและเลือกปฎิบัติอยู่ในสังคมไทยอีกมาก” ณชเล บุญญาภิสมภาร รองประธานมูลนิธิเพื่อนกระเทยไทย (Thai TGA) ผู้ร่วมจัดตั้งงาน Youth Pride Thailand และ Trans Pride Thailand และผู้นำในการขับเคลื่อนกฎหมายรับรองอัตลักษณ์ทางเพศในประเทศไทยกล่าวในสัมมนาช่วงแรก
“ที่ประเทศเนปาล ภาคประชาสังคมทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชนอย่างเข้มข้น จนบังคับใช้กฎหมายรับรองอัตลักษณ์ทางเพศมามากกว่า 10 ปี โดยไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐตามที่อาจมีข้อกังขา ในองค์กรจะมีการบังคับข้อปฎิบัติเหล่านี้เพื่อให้เกิดมาตรฐานของความเท่าเทียมอย่างแท้จริง” มานิชา ดาคาร์ ประธานองค์กร Blue Diamond Society ผู้เคลื่อนไหวผลักดันสิทธิของบุคคลข้ามเพศในเนปาล ตั้งแต่ปี 2007 โดยผลักดันให้บุคคลเลือกเพศที่สาม (third gender) ในเอกสารทางการ เช่น บัตรประชาชนและพาสปอร์ต กฎหมายนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการรับรองสิทธิมนุษยชนของชุมชน LGBTQ+ และสร้างความเท่าเทียมในสังคม
“ภาครัฐต้องสนับสนุนจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณในการขับเคลื่อน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของคนข้ามเพศ นอนไบนารี อินเตอร์เซ็กส์ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ โดยคำนึงถึงอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ประเด็นเฉพาะเจาะจงที่คนกลุ่มนี้เผชิญเพื่อหาทางออกที่ยั่งยืน โดยต้องครอบคลุมทุกมิติทั้งสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม หากประเทศไทยตั้งเป้าจะประมูลสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดงาน WorldPride 2030 หรือการเป็นจุดหมายปลายทางระดับโลกของกลุ่มนักเดินทางเพศหลากหลาย” ยัสมาเนีย บราวน์ ผู้บริหารองค์กรTransgender Europe (TGEU) และประธานบริหารร่วมองค์กร Interpride กล่าว
ในขณะที่เสวนา ช่วงที่ 2 เน้นยำถึงบทบาทของ ไพรด์ รัฐ เอกชน พันธมิตรเพื่อความเท่าเทียมทางเพศอย่างยั่งยืน
โดยเน้นถึงการทำงานเป็นองคาพยพอย่างเข้มแข็ง และการสร้างการมีส่วมร่วมของกลุ่มเพศหลากหลายตลอดกระบวนการสร้างนโยบายที่ครอบคลุมความต้องการ เช่น การเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่เป็นมิตรต่อทุกเพศสภาพ พัฒนาระบบสาธารณสุขที่ตอบสนองต่อความต้องการของบุคคลข้ามเพศและกลุ่มเพศหลากหลาย การพัฒนากฎหมายที่รับรองเพศสภาพและส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในทุกภาคส่วน บทบาทเอกชนในการสร้างพื้นที่ทำงานที่หลากหลาย ธุรกิจและองค์กรสามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ยอมรับความหลากหลายทางเพศและสนับสนุนสิทธิเพศสภาพ การทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันการเปลี่ยนแปลงในด้านสิทธิเพศสภาพและความยุติธรรมทางสังคม โดยมีตัวแทนจาก 3 ภาคส่วน ชุมชนไพรด์โดยคุณรีน่า จันทร์อำนวยสุข ผู้จัดการโครงการ
(งานวิจัยเชิงประยุกต์) แทงเจอรีนคลินิก ภาครัฐโดยคุณกุรุพิน สิงห์น้อย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสตรี กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความั่นคงของมนุษย์ และรศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข
รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และภาคเอกชนโดย คุณอรอนงค์ ประทักษ์พิริยะผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและองค์กรสัมพันธ์ ลอรีอัลประเทศไทย
ช่วงสุดท้ายเป็นงานมอบรางวัลอรรธนารีศวร ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2567 โดยรางวัลนี้มุ่งหมายเพื่อยกย่องบุคคล หน่วยงาน และองค์กร ที่สนับสนุนและส่งเสริมการทำงานด้านความหลากหลายทางเพศในมิติต่าง ๆ
เกี่ยวกับรางวัล “อรรธนารีศวร”
“อรรธนารีศวร” ได้รับการตั้งชื่อตามองค์เทพ “พระอรรธนารีศวร” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความสมดุลทางเพศ สื่อถึงความสามัคคี ความรัก และความหลากหลายทางเพศ รางวัลนี้เริ่มต้นจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2560 และเป็นรางวัลแรกในประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว โดยรางวัลในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6
ประเภทและผู้ได้รับรางวัล “อรรธนารีศวร” ครั้งที่ 6
1. รางวัล International Ardhanareeswara Award 2024
- ประเภทบุคคล: คุณ Ymania Brown (Executive Director of Transgender Europe (TGEU) และ Co-President of InterPride)
- ประเภทหน่วยงาน: Blue Diamond Society (BDS) ประเทศเนปาล
2. รางวัลด้านสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนหลากหลายทางเพศ
- ประเภทบุคคล: นายแพทย์ฐิติสันต์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี)
- ประเภทหน่วยงาน: โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
3. รางวัลด้านส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของชุมชนหลากหลายทางเพศ
- ประเภทบุคคล: คุณณชเล บุญญาภิสมภาร (รองประธานมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน และประธานมูลนิธิซิสเตอร์)
- ประเภทหน่วยงานภาคธุรกิจ: บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
4. รางวัลด้านการส่งเสริมความเข้มแข็งและศักยภาพของชุมชนหลากหลายทางเพศ
ประเภทบุคคล: คุณสุรางค์ จันทร์แย้ม (ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ)
ประเภทหน่วยงาน: กลุ่มหอแก้วสีรุ้ง จังหวัดมุกดาหาร
5. รางวัลด้านสื่อสร้างสรรค์
- ประเภทสื่อชุมชน: Mr. Gay World Thailand
- ประเภทสื่อสังคมออนไลน์: The Active (Thai PBS)
- ประเภทสื่อสารมวลชน: รายการพุธทอล์ค พุธโทร (สถานีวิทยุ EFM 94)
6. รางวัลแห่งความมุ่งมั่น (Effort Recognition Award)
- ผู้ได้รับรางวัล: สิบเอกเชาว์พิชาญ เตโช (นักจิตวิทยาชำนาญการ ศูนย์บริการสาธารณสุข 41 คลองเตย)
7. รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ (Pride Award)
- ประเภทบุคคล: คุณประเชิญ บุญสูงเนิน (เจินเจิน บุญสูงเนิน)
- ประเภทหน่วยงาน: มูลนิธิแคร์แมท จังหวัดเชียงใหม่
8. รางวัลมิตรภาพ (Friendship Award)
- ผู้ได้รับรางวัล: ดร.พัชรา เบญจรัตนาภรณ์ (ผู้อำนวยการโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย)
เจ้าภาพร่วมจัดงานประจำปี 2567
- กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- กระทรวงยุติธรรม
- กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
- กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
- สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สวท)
- International Planned Parenthood Federation
- สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
- บริษัท ทรานส์ทาเลนท์ คอนซัลติ้ง กรุ๊ป
- สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย