‘Asia International Hemp Expo 2024’ ดันมาตรฐานคุณภาพวัตถุดิบไทย ชิงตลาดอุตสาหกรรมกัญชงโลก

‘Asia International Hemp Expo 2024’ ดันมาตรฐานคุณภาพวัตถุดิบไทย  ชิงตลาดอุตสาหกรรมกัญชงโลกประกาศจัดงาน 27-30 พ.ย.นี้

สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย (TiHTA) เร่งสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมกัญชงไทยสอดรับมาตรฐานสากล รองรับโอกาสทางธุรกิจจากตลาดกัญชงเกิดใหม่ หลังยุโรปและประเทศในเอเชียปรับกฎหมายการใช้ประโยชน์กัญชง พร้อมผลักดันโครงการต้นแบบ ‘Hemp Sandbox’ เพื่อสร้างราคากลางวัตถุดิบกัญชง เชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม และจับมือร่วมกับ นีโอ ประกาศการจัดงานสุดยิ่งใหญ่ของภูมิภาคเอเชียเป็นปีที่ 3กับงาน ‘Asia International Hemp Expo 2024’ ขับเคลื่อนและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมกัญชงให้เดินหน้าต่อคาดเม็ดเงินในงานสะพัดเกิน 1,000 ล้านบาทดีเดย์จัดงาน 27-30 พฤศจิกายนนี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 

นายพรชัย ปัทมินทร นายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมของกัญชงในปี 2567 เกิดการเปิดกว้างของตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดยุโรปและเอเชียบางประเทศ ได้ดำเนินการปรับบทกฎหมายด้านการใช้ประโยชน์ของกัญชงให้เกิดความหลากหลายยิ่งขึ้น สร้างโอกาสและการขยายตัวเป็นวงกว้างในแง่เศรษฐกิจ ทั้งนี้คาดว่าอุตสาหกรรมกัญชงโลกจะเติบโตถึง 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2026 (ข้อมูลจาก: The Global Cannabis Report: 3rd Edition by Prohibition Partners) ในขณะเดียวกันมูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมในประเทศไทยคาดว่าจะเติบโตถึง 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2026 (ข้อมูลจาก: Euromonitor) ซึ่งแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของการเติบโตของประเทศไทยคือความเป็นศูนย์กลางด้าน Medical & Wellness hub ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน

สร้างมาตรฐานสากลในอุตสาหกรรมกัญชงไทยเพื่อเปิดรับทุกโอกาสบนเวทีโลก

การผลักดันเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการสร้างมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับระดับสากลเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้น ๆ ที่ช่วยให้สามารถเกิดการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้ สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย เครือข่ายอุตสากกรรมพันธมิตรในภาคส่วนต่างๆ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันการสร้างมาตรฐานที่เกี่ยวเนื่องต่ออุตสาหกรรมนี้ โดยเฉพาะมาตรฐานการผลิตที่ดีตั้งแต่ต้นน้ำและกลางน้ำ ด้วยการจัดทำมาตรฐานติดตามข้อมูลตลอดกระบวนการผลิตผ่านระบบ Tracking system และสะท้อนความสำเร็จการผลักดันมาตรฐานจากผู้ประกอบการในกลุ่มสมาชิกที่มีการดำเนินการขอมาตรฐาน GAP และ GACP เพิ่มมากขึ้น 

ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรม ออกประกาศใช้มาตรฐานสารสกัดกัญชงตั้งแต่ปี 2564 จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ น้ำมันเมล็ดกัญชง สารสกัดCBD เปลือกกัญชง แกนกัญชง เส้นใยกัญชง เพื่อให้ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม อาทิ สิ่งทอ อาหาร เครื่องสำอาง  กระดาษ  ยานยนต์  เป็นต้น นับเป็นการสร้างมาตรฐานการผลิตที่สอดคล้องกับตลาดกัญชงใหม่ในทวีปยุโรปที่อนุญาตให้มีการนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบจากไทย ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกัญชงในไทยต้องดำเนินการตามมาตรฐาน GMP, EU-GMP เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของตลาดเป้าหมาย

นอกจากนี้เส้นใยและสารสกัดกัญชง ซึ่งมีการนำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ alternative wellness, ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์, อุตสาหกรรมแฟชั่น, อุตสาหกรรมยานยนต์และอากาศยาน รวมถึงผลิตภัณฑ์ Lifestyle การเติบโตนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมแนวคิด ESG อีกทั้งอุตสาหกรรมกัญชงยังเปิดโอกาสในการสร้างและซื้อขาย Carbon Credit เนื่องจากกัญชงสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศได้มากกว่าพืชชนิดอื่น ๆ อุตสาหกรรมนี้จึงมีศักยภาพในการสร้างเครดิตคาร์บอนเพื่อขายให้กับบริษัทที่ต้องการลดคาร์บอนในกิจกรรมของตนเอง อย่างไรก็ตาม การสร้างมาตรฐานและการตรวจสอบความถูกต้องของเครดิตคาร์บอนยังคงเป็นความท้าทายที่ต้องเผชิญ

TiHTA ปั้น ‘Hemp Sandbox’ เฟ้นหาราคากลางวัตถุดิบกัญชงเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน

สมาคมฯ มีแนวทางในการผลักดันให้เกิดราคากลางในวัตถุดิบกัญชงที่เหมาะสม เพื่อเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานให้ตลาดอุตสาหกรรมกัญชงเติบโตอย่างยั่งยืน โดยได้ดำเนินการจัดตั้งโครงการ ‘Hemp Sandbox’ ส่งเสริมการปลูกกัญชงในพื้นที่ราบ จากเดิมในพื้นที่ราบสูง รวมถึงส่งเสริมการปลูกใกล้แหล่งผู้ประกอบการแปรรูป และใกล้การขนส่งเพื่อการส่งออก โดยจะส่งเสริมให้องค์ความรู้ในการปลูก การจัดหาเมล็ดพันธุ์ที่มีการรับรองพันธุ์ โดยมีหน่วยงานภาครัฐสนับสนุนการให้ความรู้ด้านความต้องการของตลาดในแต่ละอุตสาหกรรม อีกทั้งวางแนวทางการร่วมคิดค้นและพัฒนาเครื่องจักรในการเก็บเกี่ยวและแปรรูปโดยสมาชิกผู้ประกอบการในประเทศ การสนับสนุนพื้นที่แปลงทดลองปลูกและระบบชลประทานจากหลายภาคส่วนที่เข้าร่วม ทั้งนี้เชื่อว่า Hemp Sandbox จะช่วยสร้างมาตรฐานที่ดีตั้งแต่กระบวนการผลิต สอดคล้องกับความต้องการและมาตรฐานในอุตสาหกรรมนั้นๆในตลาดต่างประเทศ อาทิ การจดทะเบียนรับรองพันธุ์, การทำเอกสาร certificate of Analysis (COA) ของพันธุ์พืช, การควบคุมมาตรฐานการปลูก, การผลิตตามมาตรฐาน GMP EUGMP, Green Industry, ISO 27716, 14001, 9001 ,Halal และมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล

นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการบริหารบริษัทเอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่นออกาไนเซอร์จำกัด (นีโอ) กล่าวว่า “ภายใต้ความร่วมมือการจัดงานครั้งที่ 3 ในปีนี้กับงาน Asia International Hemp Expo 2024ในฐานะผู้เชี่ยวชาญการจัดงานแสดงสินค้า เรามีความภาคภูมิใจที่ได้ใช้ศักยภาพด้านต่างๆ ของงานแสดงสินค้าในการเชื่อมโยงโอกาส และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกัญชง เพื่อบรรเทาข้อจำกัดของอุตสาหกรรมให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ สำหรับงานในปีนี้นอกจากการนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับ 14 อุตสาหกรรมแล้ว ได้มีการจัดสัมมนานานาชาติที่เป็น Case study และการแบ่งปันความรู้โดยวิทยากรที่มีประสบการณ์จริงกว่า 20 ประเทศที่มีความโดดเด่นในสาขาต่างๆ ทั้งเทคนิกการปลูก เทคนิคการสกัด ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ อาหารแห่งอนาคต คอมโพสิทเพื่อการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอากาศยาน เฮมพ์กรีต และที่สำคัญคือมาตรฐานการผลิตสำหรับตลาดในประเทศต่างๆด้วย โดยในปีนี้เราคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมแสดงกว่า 200 บริษัท ผู้เข้าชมงานกว่า 10,000 คน และมีเงินสะพัดจากการจัดงานครั้งนี้กว่า 1,000 ล้านบาท”

ผลักดันการเชื่อมโยงห่วงโซ่วัตถุดิบเพื่อสร้างอุปสงค์อุตสาหกรรมกัญชง

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ไฮไลท์สำคัญคือการเชื่อมโยงห่วงโซ่วัตถุดิบ โดยได้จัด HEMP Supply Chain Pavilion ที่เปิดโอกาสให้ผู้ปลูกเข้าร่วมนำเสนอศักยภาพและปริมาณความสามารถในการปลูกกับผู้ซื้อในภาคอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ โดยในภาคอุตสาหกรรมก็จะนำเสนอคุณสมบัติของวัตถุดิบและปริมาณความต้องการซื้อในแต่ละปี ซึ่งจะทำให้ผู้ปลูกสามารถวางแผนการปลูก เลือกเมล็ดพันธุ์ และเลือกวิธีการปลูกได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ได้จับมือร่วมกับสมาคม Design Object จัดนิทรรศการ HEMP Inspired Showcase นำผลงานจากนักออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบกัญชงร่วมจัดแสดงภายในงาน เพื่อโชว์ศักยภาพของวัตถุดิบและสร้างแรงบันดาลใจที่เป็นการเพิ่มอุปสงค์ให้กับอุตสาหกรรมกัญชงต่อไป ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่จะรองรับวิสัยทัศน์ Hemp Sandbox ของสมาคมอีกด้วย

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน Asia International Hemp Expo 2024สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้แล้ววันนี้ ที่ www.asiahempexpo.com งานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 พฤศจิกายนนี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร

About Author