สสส. ผนึกกำลัง 7 สถาบันการศึกษาทุกภูมิภาคลงนาม MOU

สสส. ผนึกกำลัง 7 สถาบันการศึกษาทุกภูมิภาคลงนาม MOU ความร่วมมือการสื่อสารสนับสนุนภาคีสุขภาวะสร้างนักสื่อสารภาคีสัมพันธ์รุ่นใหม่ขยายผลการสื่อสารงานสร้างเสริมสุขภาพเพื่อสร้างสังคมสุขภาวะ

เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567 ที่ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ ร่วมกับ 7 สถาบันการศึกษาทุกภูมิภาค ได้แก่ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ม.นครพนม ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์  ม.ราชภัฏราชนครินทร์ฉะเชิงเทรา ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการจัด พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสื่อสารเพื่อสนับสนุนภาคีสุขภาวะและมอบรางวัลผลงานนักสื่อสารภาคีสัมพันธ์ปีที่ 1” 

นพ.พงศ์เทพวงศ์ วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในยุคปัจจุบัน การสื่อสาร มีพลังในการกำหนดทิศทางของสังคม สสส. เป็นองค์กรเพื่อสังคม มีภารกิจหลักสานพลัง สร้างนวัตกรรม สื่อสารสุขร่วมกับภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ ขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะปีละไม่น้อยกว่า 2,000 โครงการ ก่อให้เกิดวิธีการขับเคลื่อน และผลผลิต ผลลัพธ์ที่เกิดจากดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพของภาคีเครือข่ายจำนวนมาก ดังนั้นการสื่อสารจึงเป็นเครื่องมือสำคัญเครื่องมือหนึ่ง ที่จะช่วยผลักดันงานสร้างเสริมสุขภาพของภาคีเครือข่ายสามารถขยายได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น การสานพลังสถาบันการศึกษา เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเยาวชน ในการนำความรู้ และเปิดพื้นที่ให้เยาวชนที่มีพลังความคิดสร้างสรรค์ มีมุมมองรอบตัวที่แตกต่างไปตามยุคสมัย  และศักยภาพด้านการผลิตสื่อทุกรูปแบบ สามารถสื่อสารงานของภาคีเครือข่าย สสส. ได้อย่างเข้าใจในเชิงประเด็นงานสร้างเสริมสุขภาพอย่างรอบด้าน จนสามารถนำไปผลิตชิ้นงานสื่อสารได้อย่างเข้าใจ ซึ่งทักษะสำคัญเหล่านี้ เป็นประโยชน์อย่างมากในเส้นทางสายอาชีพของเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการนี้ในอนาคต 

“นิสิต นักศึกษาที่เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ ความร่วมมือการสื่อสารเพื่อสนับสนุนภาคีสุขภาวะ คือตัวอย่างของคนรุ่นใหม่ ที่เห็นความสำคัญของการทำเพื่อสังคม โดยใช้ศักยภาพ ความรู้ ความสามารถของตนเองนำไปสู่การลงมือทำจริง จนเกิดเป็น“ผลงานนักสื่อสารภาคีสัมพันธ์” ผ่านสื่อประเภทคลิป VDO สารคดีสั้น หรืองานเขียนได้อย่างน่าสนใจ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสาร ให้กับนิสิตนักศึกษาและภาคีเครือข่าย สสส. เพื่อขยายผลการสื่อสารงานสร้างเสริมสุขภาวะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมในอนาคต สร้างสังคมสุขภาวะให้เกิดขึ้น เชื่อมั่นว่าพลังศักยภาพของเยาวชน-คนรุ่นใหม่ เป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดอนาคตของประเทศต่อไป” นพ.พงศ์เทพ กล่าว

ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคี สัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์สสส. กล่าวว่า โครงการ “ความร่วมมือการสื่อสารเพื่อสนับสนุนภาคีสุขภาวะ” คือการสานพลังตามภารกิจของแต่ละองค์กร นำไปสู่การบูรณาการการทำงานร่วมกันในการสนับสนุนการสื่อสารสุขภาวะ อย่างเป็นรูปธรรมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสาร ให้กับนิสิตนักศึกษา และภาคีเครือข่าย สสส. เกิดเป็น “นักสื่อสารภาคีสัมพันธ์” สร้างพื้นที่ในการใช้ศักยภาพนำเสนอประเด็น “คน” ขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพจากภาคีเครือข่าย สสส. ที่เป็นผู้ขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ ตลอดระยะเวลาของโครงการฯ สสส. ได้ร่วมมือกับคณาจารย์ผู้ปฏิบัติงานในการจัดกิจกรรมอบรมการสื่อสารสุขภาวะ จัดเวทีสร้างแรงบันดาลใจจากผู้เชี่ยวชาญ  จัดทีมพี่เลี้ยง และนักวิชาการสนับสนุนองค์ความรู้ ติดตามผลการดำเนินงาน ภายใต้โจทย์การทำงานร่วมกัน ในเรื่อง : คุณค่าของ “คน” ขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ โดยมีผลงานสื่อของนักศึกษาจำนวน 11 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าสู่การพิจารณา และมีจำนวน 6 ผลงานที่ได้รับรางวัลนักสื่อสารภาคีสัมพันธ์ ปีที่ 1 

“การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสื่อสาร ในครั้งนี้เป็นการเปิดพื้นที่ให้กับคนรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพ พลังความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มประสบการณ์งานด้านการสื่อสารเพื่อสังคมสุขภาวะ กับโจทย์งานจริง สนามจริง จากคนต้นเรื่องที่เป็นภาคีเครือข่าย สสส. สู่การสื่อสารสุขภาวะไปในวงกว้าง ขยายผลการสื่อสารงานสร้างเสริมสุขภาวะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมต่อไป” ดร.ณัฐพันธุ์กล่าว

รายชื่อผลงาน

สถานศึกษาทีมชื่อผลงาน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี 
สาวสาวสาว 
คืนรอยยิ้มที่สดใส ให้ผู้สูงวัยในชุมชน “บ้านบาโงฆาดิง”
มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ทีมลงละครทีมลงละคร
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ฉะเชิงเทราทีม 422สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านเล้อ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์Chocobeeแยกขยะถูกวิธีเพื่อชุมชนที่ดีขยะเป็น0
มหาวิทยาลัยนครพนมUnbullyableการบูลลี่ในโรงเรียน ภัยใกล้ตัวที่ไม่เคยนึกถึง
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์บูบู่แอโรบิก ชีวิต ชุมชน

About Author