ผ้าขาวม้าวิถีไทยทอใจอย่างยั่งยืน ก้าวสู่ปีที่ 7 ตอกย้ำแนวคิด Nature’s Diversity
ผ้าขาวม้าวิถีไทยทอใจอย่างยั่งยืน ก้าวสู่ปีที่ 7 ตอกย้ำแนวคิด Nature’s Diversity เกาะติดเทรนด์แฟชั่นใส่ได้ทุกเพศและทุกวัย
บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ผสานความร่วมมือกับ กรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย เครือข่ายบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม ทั่วประเทศภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ดำเนินโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 จากจุดเริ่มต้นของโครงการในปี พ.ศ.2559 ภายใต้การทำงานของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการร่วมกันพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ของชุมชนในชนบท โดยมี บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ผสานความร่วมมือกับ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เครือข่ายบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม ทั่วประเทศ ภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา ผลักดันให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าขาวม้าทอมือ เพื่อช่วยเพิ่มรายได้และพัฒนาทักษะอาชีพให้กับชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทั่วประเทศ ที่ริเริ่มโครงการโดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยมีคุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่และประธานคณะกรรมการ โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยที่เป็นผู้ริเริ่มและหัวเรือหลักในการดำเนินงานมาตั้งแต่ต้น และเป็นผู้สนับสนุนหลักในโครงการเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้ชุมชนสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง สร้างความภาคภูมิใจในการสืบสาน และต่อยอดหัตถกรรมพื้นบ้านให้เกิดความยั่งยืน
คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และประธานคณะกรรมการโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย กล่าวว่างาน “ผ้าขาวม้าวิถีไทยทอใจอย่างยั่งยืน” ครั้งนี้นับเป็นการจัดงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 และในปีนี้มีความพิเศษกว่าปีก่อน ๆ โดยกิจกรรมของเราได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงาน Sustainability Expo 2023 (SX 2023) มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 กันยายน – 8 ตุลาคม 2566 ณศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ซึ่งเป็นมหกรรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยจัดขึ้นเป็นปีที่ 4 ภายใต้แนวคิด “พอเพียงยั่งยืนเพื่อโลก” โดยวัตถุประสงค์หลักของโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยและ “ผ้าขาวม้าวิถีไทยทอใจอย่างยั่งยืน” คือการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของผ้าขาวม้าในเชิงศิลปวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมเฟ้นหาอัตลักษณ์ของผ้าขาวม้าจากชุมชนต่างๆและเสริมสร้างผ้าขาวม้าทอมือให้มีความโดดเด่นพร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าขาวม้าให้มีความหลากหลายและตรงต่อความต้องการของตลาดเพื่อสร้างอาชีพและเสริมสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) ที่มีคุณค่าจากฝีมือของมนุษย์อาทิการนำเส้นใยและสีธรรมชาติมาใช้กับการย้อมผ้าขาวม้า และการรวมพลังคนรุ่นใหม่ของ Creative Young Designer ให้มาร่วมสร้างสรรค์ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือกับกลุ่มนักศึกษาซึ่งนอกจากต่อยอดความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าของใช้ของที่ระลึกของชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือให้มีความทันสมัยแล้วยังมุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาด้านการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมผ้าขาวม้าทอมือเพิ่มศักยภาพการผลิตและต่อยอดทางธุรกิจให้แก่ชุมชนผ้าขาวม้าด้วยแนวคิดในการออกแบบใหม่ๆผ่านการดูแลและให้คำปรึกษา (Coaching) และทำงานร่วมกับชุมชนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งวิถีชีวิตวัฒนธรรมทั้งนี้ชุมชนจะได้รับผลิตภัณฑ์ต้นแบบนำไปต่อยอดด้านการตลาดรวมไปถึง สโมรสรฟุตบอลหลายแห่งที่ได้ร่วมสนับสนุนนำผ้าขาวม้าทอมือมาประกอบเป็นสินค้าที่ระลึกของสโมสรส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจในชุมชนมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยมีส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าผ้าขาวม้าทอมือจนสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมาอย่างต่อเนื่องโดยประสบความสำเร็จใน 5 มิติหลักคือ 1) การสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ้าขาวม้าทอมือ 2) การสร้างเครือข่ายภาควิชาการและภาคเอกชนที่พร้อมสนับสนุนชุมชนในการสั่งซื้อให้ความรู้เชิงธุรกิจและการออกแบบ 3) การสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน 4) การสานต่องานผลิตและแปรรูปผ้าขาวม้าสู่คนรุ่นใหม่และ 5) การสร้างห่วงโซ่การผลิตผ้าขาวม้าทอมือที่เข้มแข็งมีความเกื้อกูลกันระหว่างชุมชนนับเป็นอีกก้าวสำคัญในการขยายเครือข่ายความร่วมมือ จากจุดเริ่มต้นเพียง 2 ชุมชน 2 มหาวิทยาลัยในปี 2562 ไปสู่ 18 ชุมชน 16 สถาบันการศึกษา
โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเครือข่ายทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมแรงร่วมใจร่วมงานกันมาในโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมาจะยังคงร่วมกันถักทอแรงบันดาลใจในการพัฒนาผ้าขาวไทยต่อไปในอนาคตซึ่งจะไม่เป็นเพียงการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่นแต่จะยังช่วยสร้างระบบเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งและที่สำคัญที่สุดคือคนในชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทุกแห่งมีความรักสามัคคีและภูมิใจในคุณค่าภูมิปัญญาของตนเองต่อไปอย่างยั่งยืน“
โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย เป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2559 ภายใต้การดำเนินงานของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐตลอดเวลา 7 ปีที่ผ่านมาโครงการนี้ได้รับความร่วมมืออันดียิ่งจากชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือหน่วยงานภาครัฐองค์กรภาคเอกชนตลอดจนสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในการร่วมกันพัฒนาคุณภาพและการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าทอมือให้มีความทันสมัยตรงกับความต้องการของตลาดและยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นพร้อมประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป
สำหรับการจัดงาน “ผ้าขาวม้าวิถีไทยทอใจอย่างยั่งยืน” ในปี 2566 ภายใต้แนวคิด Nature’s Diversity สื่อใหเ้ห็นว่าผ้าขาวม้าสามารถใสไ่ด้ทุกเพศและทุกวัยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนให้ได้มีพื้นที่จัดแสดงโชว์ผลงานแลกเปลี่ยนแนวความคิดและสร้างเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกันของชุมชน /การแสดงแฟชั่นโชว์ชุดผ้าขาวม้าจากโครงการ Creative Young designers Season3 ออกสู่สายตาประชาชน /การจัดแสดงนิทรรศการโซน cultural heritage / โซนจัดแสดงผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้าของ 16 มหาวิทยาลัย 18 ชุมชน / กิจกรรมTalk หัวข้อผ้าขาวม้ามรดกภูมิปัญญาและการพัฒนาอย่างยั่งยืน / โซน Market Place ของ 12 ชุมชนและโซนกิจกรรม online บอกต่อความประทับใจถ่ายภาพและแชร์พร้อมบรรยายเชิญชวนเพื่อนมาเที่ยวงาน “ผ้าขาวม้าวิถีไทยทอใจอย่างยั่งยืน” ภายใน Sustainability Expo 2023 (SX 2023)
โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือของ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทยสถาบันการศึกษาในเครือข่าย eisa และภาคีทุกภาคส่วนที่ได้ให้ความสนับสนุนโครงการนี้มาตลอดระยะเวลา 7 ปีส่งผลให้โครงการฯสามารถดำเนินงานมาได้อย่างต่อเนื่องและจะยังคงทำงานร่วมกับชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือต่อไปเพื่อให้สามารถบรรลุถึงเป้าประสงค์หลักคือการพัฒนาผ้าขาวม้าทอมือของไทยเพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชุมชนผู้ผลิตทั่วประเทศ