เรื่องราวสุดอาถรรพ์ จาก 5 Amulet ต้องคำสาปทั่วโลก

เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยได้ยินเรื่องราวสุดแปลก ลึกลับ น่ากลัวจากพิธีกรรม คาถาต่างๆจากทั่วทุกมุมโลก รวมไปถึงความเชื่อที่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์รองรับ แต่ก็ยังมีอีกหลายความเชื่อที่ยังต้องค้นหาคำตอบ ไม่ว่าจะเป็นการทำมนต์ดำของชนเผ่าวูดู, คำสาปจากสุสานฟาโรห์ หรือแม้แต่เรื่องราวที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่อการทรงเจ้าในบ้านเรา หลายคนก็เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง บ้างก็เล่าต่อกันมาว่าเป็นเรื่องราวคำสาป บ้างก็ว่าเป็นฝีมือของเทพหรือภูติผีปีศาจ แต่นั่นก็ยังเป็นสิ่งที่ยังต้องค้นหาคำตอบกันต่อไป และสำหรับเรื่องราวสุดพิศวงที่จะมานำเสนอในวันนี้ เกี่ยวกับเรื่องราวลึกลับสุดอาถรรพ์จาก 5 เครื่องรางต้องคำสาปทั่วโลก ที่เคยเกิดขึ้นจริงมาแล้ว

 1.กล่อง Dybbuk

กล่อง Dybbuk หรือ ตู้เก็บไวน์สุดหลอน มีต้นกำเนิดมาจากชาวยิว ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และมันไม่ได้มีไว้สำหรับเก็บไวน์ แต่มันมีไว้เพื่อขังวิญญาณชั่วร้ายจากการสงครามล้างเผ่าพันธุ์ กล่อง Dybbuk กลับมาได้รับความสนใจเป็นอย่างมากอีกครั้ง เมื่อมีคนนำมาประมูลบน EBAY ในปี 2544 โดยชายผู้คร่ำหวอดในธุรกิจอสังหาฯ เขารอดชีวิตมาจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เขาพบกับเรื่องราวแปลกๆเมื่ออยู่ใกล้กับกล่องใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นฝันร้าย จนไปถึงโรคประหลาดที่ไม่พบการรักษาในการแพทย์ ซึ่งนอกจากความอาถรรพ์แล้ว สิ่งของชิ้นนี้ได้เป็นแรงบันดาลใจให้ภาพยนตร์สยองขวัญปี 2012 เรื่อง The Possession อีกด้วย

2.The Women of Lemb

คำสาปเทพธิดาแห่งความตาย หรือที่รู้จักกันในชื่อ The Goddess of Death” รูปปั้นแกะสลักจากหินปูน ถูกค้นพบในยุโรปตะวันออกเมื่อราว 3,500 ปีก่อนคริสตกาล ในเมือง Lemb ประเทศไซปรัส มีลักษณะคล้ายกับเทวรูปด้านการเจริญพันธุ์ของเทพธิดาในสมัยโบราณ แต่แทนที่จะสร้างผลกระทบในเชิงบวกต่อบุคคล มันกลับถูกเรียกว่า “รูปปั้นมรณะ” เจ้าของรูปปั้นคนแรกคือลอร์ดเอลฟอนต์และครอบครัว ทั้งหมดเสียชีวิตทั้งหมด 7 คน ภายใน 6 ปี หลังจากที่เขาครอบครองรูปปั้นนี้ และยังส่งผลร้ายไปมากถึง 4 ครอบครัว ก่อนที่มันจะถูกจัดตั้งที่พิพิธภัณฑ์ในสก็อตแลนด์ และมีภัณฑารักษ์เสียชีวิตอย่างปริศนา 1 ปี หลังจากที่มันถูกย้ายมา ปัจจุบันนี้รูปปั้นมรณะดังกล่าวยังอยู่ในพิพิธภัณฑ์ Royal Scottish Museum ในเมืองเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์ โดยมันถูกป้องกันโดยกระจก หรือจริงๆแล้วจะพูดให้ถูกว่าพวกเราเองถูกปกป้องจากอาถรรพ์ของมัน

3. Maori Warrior Masks

หน้ากากนักรบต้องคำสาปของชนเผ่าเมารี ถูกติดตั้งอยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑ์ชาวเมารี ในเมืองเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ ตามความเชื่อดั้งเดิมของชาวเมารี ถ้าหากนักรบเกิดเสียชีวิตในระหว่างการต่อสู้ วิญญาณที่ล่องลอยจะกลับมาสิงอยู่ในหน้ากากนักรบของตัวเอง ทำให้หน้ากากนักรบแห่งเมารีกลายมาเป็นวัตถุต้องคำสาปที่ใกล้ชิดกับความตายและเลือดเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันมีคำสั่งห้ามไม่ให้สตรีมีครรภ์และมีประจำเดือนเข้าใกล้ เพราะมันสามารถเรียกคำสาป ซึ่งประเพณีของชาวเมารีบอกว่าผู้หญิงเหล่านี้เป็น “ทาปู” (หรือต้องห้าม) หมายความว่าหากเข้าใกล้มากเกินไป คำสาปก็อาจถูกสาปแช่งได้ ปัจจุบันมันเป็นหนึ่งในวัตถุต้องคำสาปที่ทำการเก็บรักษาเอาไว้หลังตู้กระจกที่ถูกล็อกปิดตาย

4.The Aztec Death Whistle

เสียงนกหวีดแห่งความตาย ถูกค้นพบเมื่อ 20 ปีก่อน ในช่วงปี 2542 ซึ่งตอนแรกนักโบราณคดีคิดว่าชิ้นส่วนเหล่านี้เป็นของเล่นหรือเครื่องประดับ ก่อนที่จะค้นพบว่ามันคือเครื่องสร้างเสียงสุดสะพรึง โดยในสมัยก่อนชาวแอซเท็กเป็นเผ่าพันธุ์ที่นิยมสร้างเครื่องสร้างเสียงและเครื่องดนตรีนับไม่ถ้วนจากดินเหนียว พวกเขาสามารถสร้างเสียงที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในชีวิตมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการรักษา บำบัดโรคต่างๆ รวมไปถึงการล่าสัตว์ แต่ที่น่าตกใจที่สุดคือการสร้างเสียงนกหวีดแห่งความตายของชาวแอซเท็ก โดยว่ากันว่านกหวีดแห่งความตายนี้ ใช้กันในพิธีบูชายัญ หรือการเฉลิมฉลองความตาย เพื่อเป็นการให้ดวงวิญญาณผู้ล่วงลับเดินทางสู่ยมโลกอย่างปลอดภัย โดยเสียงที่ผ่านนกหวีดจะเหมือนกับการร้อง เฉลิมฉลองของผี ปีศาจ ที่น่าขนลุก

5.Magda and Santa Muerte

ในประเทศเม็กซิโก ชาวพื้นเมืองจะมีความเชื่อในการบูชา ซานตา มูเอร์เต หรือ นักบุญมรณะ ซึ่งชาวเม็กซิกันให้ความเคารพนับถือในฐานะนักบุญผู้ช่วยให้รอดจากความตาย โดยนักบุญองค์นี้จะให้พรแก่ผู้ที่ใช้ชีวิตเสี่ยงความตายหรือถูกทอดทิ้งจากสังคม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ, อาชญากร และพ่อค้ายาเสพติด รวมไปถึงทหารผ่านศึกสงคราม แต่ทว่านักบุญองค์นี้มิได้รับการยอมรับจากคริสตจักรแต่อย่างใด ซึ่งซานตามูเอร์เตมีน้องสาวหนึ่งคน มีชื่อว่า แม็กดา ตามตำนานเธอเป็นเพียงบุคคลธรรมดา ไม่มีพลังเหนือธรรมชาติ แต่ถูกยกย่องให้เป็นหญิงที่มีสัญลักษณ์ของการกำเนิดและเฉลิมฉลอง ซึ่งในเวอร์ชั่นภาพยนตร์ Amulet หรือ ชีปีศาจ ได้มีการนำสัญลักษณ์ของ Magda and Santa Muerte มาถ่ายทอดผ่านรูปแบบศิลปะของประติมากรรมชวนสยองของชาวฝรั่งเศส Olivier de Sagazan ที่เพิ่มความน่ากลัวจนกลายเป็นฝันร้ายบนโลกภาพยนตร์ชนิดที่ผู้ชมคาดไม่ถึง

สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Amulet หรือ ชีปีศาจ เล่าเรื่องราวของอดีตทหารผ่านศึก โทมาส ต้องกลายเป็นบุคคลไร้บ้านหลังจากถูกทอดทิ้งจากสงคราม เขาได้รับการช่วยเหลือจาก ซิสเตอร์แคลร์ นักบุญปริศนาที่อาสาเป็นธุระหาบ้านอุปการะให้กับเขา โทมาสจึงต้องไปอาศัยอยู่กับ แม็กดา หญิงสาวที่อาศัยอยู่กับแม่ที่ป่วยเพียงลำพัง ในบ้านที่บรรยากาศชวนขนลุก แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งผิดปกติในบ้านก็เริ่มเกิดขึ้น มีบางอย่างที่ไม่ชอบมาพากล เสียงปริศนาจากห้องชั้นบน ซึ่งเป็นห้องพักของหญิงแก่ที่ป่วยใกล้ตาย โทมาสได้แต่สวดภาวนากับเครื่องรางลึกลับ ที่พึ่งเดียวที่เขานำติดตัวมาด้วย เพื่อให้แต่ละวันผ่านพ้นไปอย่างปลอดภัย แต่กว่าที่เขาจะรู้ตัว ว่าตัวเองและบ้านหลังนี้ได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของคำสาปอาถรรพ์จากปีศาจร้าย ทุกอย่างก็สายเกินกว่าที่จะช่วยให้เขาเอาชีวิตรอดกลับมา

ได้เวลาพิสูจน์ความหลอนไปกับเครื่องรางมรณะ และความลึ้ลับของนักบวช ที่จะมาสร้างความท้าทาย ลบหลู่แรงศรัทธา เพราะการเผชิญหน้ากับปีศาจครั้งนี้สวดมนต์ไม่ได้ช่วยอะไร Amulet ชีปีศาจ 13 มกราคมนี้ ในโรงภาพยนตร์

ตัวอย่างภาพยนตร์

About Author