ดีอี-ดีป้า ผนึก Soft Power เปิดตัว OFOSGAME ปั้นคนเกมสู่อนาคตอุตสาหกรรมแห่งโอกาส

IMG_3249

ดีอี – ดีป้า ร่วมกับ คณะซอฟต์พาวเวอร์ฯ ด้านเกม และเครือข่ายพันธมิตร เปิดตัวโครงการ OFOSGAME พร้อมปล่อย 4 หลักสูตรพิเศษ เร่งสร้างกำลังคนที่มีทักษะด้านเกม รองรับอุตสาหกรรมแห่งโอกาส

วันที่ 26 พฤษภาคม 2568กรุงเทพมหานคร– กระทรวงดีอี โดย ดีป้า ร่วมกับ คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์ พาวเวอร์แห่งชาติ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านเกมมหาวิทยาลัยสุรนารี และเครือข่าย พันธมิตรเปิดตัวโครงการพัฒนาทักษะด้านเกม ตามนโยบาย  1 ครอบครัว  1 ทักษะซอฟต์พาวเวอร์(OFOS) หรือ  OFOSGAME  พร้อมปล่อย 4 หลักสูตรพิเศษและกิจกรรมเวิร์กชอปเข้มข้น ดันผลงานจากห้องเรียนสู่ อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ สอดรับนโยบายรัฐบาล One Family One Soft Power – หนึ่งครอบครัว หนึ่ง ทักษะซอฟต์พาวเวอร์ 

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(กระทรวงดีอี) โดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ร่วมกับ คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ด้านเกม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (SUT) มหาวิทยาลัยศรีปทุม(SPU) ศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ ดิจิทัลและเทคโนโลยี (didtc) และ สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย (TGA) ร่วมเปิดตัวโครงการพัฒนาทักษะด้านเกม ตามนโยบาย 1 ครอบครัว1 ทักษะซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) หรือOFOSGAME ซึ่ง จัดขึ้นภายในงานแถลงข่าว‘การขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเกมและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง’ โดย ได้รับเกียรติจาก นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีให้ เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ ‘อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย พลังเศรษฐกิจ ใหม่ในยุคดิจิทัล’ พร้อมการบรรยายพิเศษจาก นายแพทย์สุรพงษ์สืบวงศ์ลี รองประธานคณะที่ปรึกษา ด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ในหัวข้อ ‘ซอฟต์พาวเวอร์เกมไทย: สร้างคน สร้างเกม สร้างอนาคต’ โดยมี ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า นายฉัตรชัยคุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า ผู้บริหารกระทรวง และ หน่วยงานพันธมิตรเข้าร่วมงาน 

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่า ภารกิจการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของ ดีป้า มุ่งเน้นการทำงานผ่านการสร้าง กลไกส่งเสริมในมิติต่าง ๆ สำหรับอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ถือเป็นอุตสาหกรรมแห่งโอกาส โดยจาก การเก็บข้อมูลผลสำรวจตลอด 8 ปีของ ดีป้า พบว่าอุตสาหกรรมดิจิทัลมีมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านบาทโดยกลุ่ม ดิจิทัลคอนเทนต์ ซึ่งประกอบด้วยเกมแอนิเมชัน คาแรกเตอร์ และอีบุ๊ก มีมูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาท ซึ่ง ‘เกม’ ครองสัดส่วนสูงที่สุดกว่า 70% หรือกว่า 34,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม มูลค่าการนำเข้าเกมยังสูงถึง 97% ซึ่งแสดงถึงโอกาสในการผลักดันการพัฒนาเกมไทย โดยปัจจุบันมีผู้ประกอบการเกมไทย 90 ราย และบุคลากร ในอุตสาหกรรมกว่า 1,900 คน ทั้งนี้ กลุ่มที่มีทักษะเชิงเทคนิคยังคงเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี 

ปี 2568 ดีป้า มุ่งผลักดันอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ให้เติบโตอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านโครงการ พัฒนาทักษะด้านเกม ตามนโยบาย ครอบครัว ทักษะซอฟต์พาวเวอร์ (OFOSหรือOFOSGAME เพื่อสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเกมและดิจิทัลคอนเทนต์ของไทย โดย บูรณาการกับหลักสูตร depa Game Online Academy และขยายผลสู่หลักสูตรพิเศษอีก หลักสูตรที่ได้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีร่วมพัฒนาขึ้นพร้อมทั้งเดินหน้าโครงการ Thai Digital Content Go Global ที่สนับสนุนการสร้างผลงานของคนไทย และผลักดันสู่เวทีโลกที่ครอบคลุมระบบนิเวศเพื่อการขับเคลื่อน อุตสาหกรรมเกมและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง” ผู้อำนวยการใหญ่ดีป้า กล่าว

ด้าน รศ.ดร.อนันต์ ทองระอา อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวว่าโครงการพัฒนา ทักษะด้านเกม หรือOFOSGAME มุ่งพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการสร้างเกม ทั้งด้านเทคโนโลยี ศิลปะ การเล่าเรื่อง และการสื่อสาร โดยเน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่ ปฏิบัติงานได้จริงในสายอาชีพนอกจากนี้ยังสามารถสะสมหน่วยกิตของมหาวิทยาลัย ซึ่งในการผลักดัน โครงการดังกล่าว มหาวิทยาลัยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทั้งภาคการศึกษาอย่าง มหาวิทยาลัยศรีปทุม ภาคอุตสาหกรรมเกมอย่าง ศูนย์นวัตกรรมการออกแบบดิจิทัลและเทคโนโลยีสมาคมอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์เกมไทย ในการพัฒนาหลักสูตร และจัดการฝึกอบรมทั้งในรูปแบบออนไลน์และเวิร์กชอปให้ตรงตาม ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นภายใต้โครงการ OFOSGAME ประกอบด้วย

หลักสูตรที่ 1 การพัฒนาเกมเบื้องต้นในUnreal Engine 

ออกแบบมาเพื่อปูพื้นฐานการใช้ Unreal Engine สำหรับสร้างเกม 3D ที่เล่นได้จริง เรียนรู้การสร้าง โมเดล การจัดแสง ระบบเกม และการเผยแพร่เกมต้นแบบบนแพลตฟอร์มออนไลน์

หลักสูตรที่ 2 การออกแบบเกมแนวเล่าเรื่องและการพัฒนาเกมนิยายภาพ

ผสานองค์ความรู้จากการเขียนบทและการออกแบบเกมเพื่อสร้าง Visual Novel ที่มีเส้นเรื่องแตก แขนง พัฒนาทักษะด้านการเล่าเรื่องสร้างตัวละคร และนำเสนอผลงานในรูปแบบที่เข้าถึงผู้เล่น

หลักสูตรที่ 3 นักพากย์มืออาชีพ

เน้นการพากย์เสียงสำหรับเกมโดยเฉพาะเรียนรู้ตั้งแต่วิธีวิเคราะห์ตัวละคร ถ่ายทอดอารมณ์ การใช้ อุปกรณ์และซอฟต์แวร์ รวมถึงการทำงานร่วมกับทีมโปรดักชัน เพื่อพากย์เสียงอย่างมืออาชีพให้เข้ากับบริบท ของเกม

หลักสูตรที่ 4 หลักสูตรการสร้างสรรค์โลกเกมใน Roblox 

เรียนรู้การใช้ Roblox Studio เพื่อสร้างโลกเสมือนจริงแบบอินเทอร์แอกทีฟ สร้างเกมด้วยภาษา Lua ออกแบบสภาพแวดล้อม 3D สร้างกลไกการเล่น และออกแบบประสบการณ์ผู้เล่นที่ดึงดูดและมีเอกลักษณ์

ทั้งนี้ ทั้ง 4 หลักสูตรจะเติมเต็มและผสานเข้ากับหลักสูตรเกมใน depa Game Online Academy ทำ ให้เกิดการขับเคลื่อนทักษะด้านอุตสาหกรรมเกมอย่างเป็นระบบ ทั้งหลักสูตรพื้นฐานที่ส่งเสริม OFOSGAME

และหลักสูตรเพื่อพัฒนาแรงงานสำหรับภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ผู้เข้าอบรมที่ผ่านการ ประเมินสมรรถนะสามารถเก็บหน่วยกิตในคลังหน่วยกิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีอีกด้วย

นอกจากนี้ ภายในงานแถลงข่าวยังมีการเปิดตัวโครงการ  depa Thai Digital Content Go Global ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญที่เร่งพัฒนาศักยภาพประชาชนและผู้ประกอบการพร้อมยกระดับ อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทยให้แข่งขันได้ในเวทีสากล เปิดโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนให้ ผู้ประกอบการไทย และการบรรยายพิเศษ การเสวนาจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเกม รวมถึงนิทรรศการ การนำเสนอผลงานของนักศึกษา 4 หลักสูตรต้นแบบที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเสริมทักษะใหม่ให้กับคนรุ่นใหม่ให้ก้าวทันโลกแห่งการพัฒนาเกมที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง

สำหรับผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนเรียนหลักสูตรต่าง ๆภายใต้ โครงการ OFOSGAME ได้ที่https://xlane.sut.ac.th/home/ และเพจเฟซบุ๊กTHACCA-Thailand Creative Culture Agency

About Author