ไขข้อสงสัย “ธงกฐิน” มาจากไหน?

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต กรรมการและรองเลขาธิการมูลนิธิสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล  โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า  ธงกฐินมาจากไหน?

ปฐมกฐินวัดสยามพุทธาธิราช-นาโงย่า

ธงกฐินเป็นสื่อปริศนาธรรมของคนโบราณใข้เพื่อสั่งสมความรู้ผ่านสัญลักษณ์กับ จระเข้ หมายถึง ความโลภ จรเข้มีปากใหญ่ กินไม่อิ่มเหมือนความโลภ ขณะที่ตะขาบ หมายถึง ความโกรธ สัคว์มีพิษที่ปากด้วยแรงพิษที่เผ็ดร้อนเหมือนความโกรธที่แผดเผาจิต ส่วนนางนางมัจฉา หมายถึง ความหลง เหมือนความงามที่รูปโฉมชวนติดใจในเสน่ห์แห่งความงามที่ชวนหลงใหล และสุดท้ายคือ เต่า หมายถึง สติ ที่ระมัดระวังสำรวมรักษาอายตนะทั้ง 6 ดุจเต่าที่หดอวัยวะซ่อนในกระดอง

สำหรับตำนานเกี่ยวกับธงกฐินทั้งสี่ผืน ” ธงจระเข้ ” ใช้ประดับในการแห่ รวมถึงมีตำนานว่าเศรษฐีเกิดเป็นจระเข้ว่ายน้ำตามขบวนกฐินจนขาดใจตาย ตัวอย่างในเพลงของหลวงพ่อพร ภิรมย์

“ธงนางมัจฉา” ใช้ประดับงานพิธีถวายผ้ากฐิน เป็นตัวแทนหญิงสาว ตามความเชื่อว่าอานิสงส์จากการถวายผ้าแก่ภิกษุสงฆ์จะมีรูปงาม “ธงตะขาบ” ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่า วัดนี้มีคนมาจองกฐินแล้ว บางหมู่บ้านตะเรียกว่าการปักตอฃกฐิน จึงมีการติดธงให้ผู้จะมาปวารณาทอดกฐินผ่านไปวัดอื่นเลย ไม่ต้องเสียเวลามาถาม สุดท้าย “ธงเต่า” ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่า วัดนี้ทอดกฐินเรียบร้อยแล้ว จะปลดลงในวันเพ็ญเดือน 12 ซึ่งเป็นวันสุดท้านของเทศกาลกฐินในคืนวันลอยกระทง

ในปัจจุบันจะเห็นเพียงธงจระเข้ และนางมัจฉา ที่จะปรากฎในงานกฐิน ส่วนธงตะขาบ และเต่า พบเห็นได้น้อย จะมีเป็นบางวัดที่ยังคงรักษาธรรมเนียมเก่าอยู่

ขอเชิญร่วมทำบุญทอดกฐินสามัคคี​ เพื่อเป็นปัจจัยซื้อที่ดินและปรับปรุงเสนาสนะ​ วัดสยามพุทธาธิราช นาโงย่า​ ประเทศญี่ปุ่น​ วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ 2567

กฐินแรกของวัดสยามพุทธาธิราช เมืองนาโงย่า จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่นได้คณะเจ้าภาพแรกปฐมกฐินประกอบด้วย คุณราณี​ แคมเปน (เบลล่า)​ และคุณวีณา​ เมษกำเนิดชัย​ (พลอย), บริษัทอุตสาหกรรมแป้งข้าวสาลีำทยจำกัด, มูลนิธิไชย้ง ลิ้มทองกุล, ทัวร์เอื้องหลวงการบินไทยและคณะสามัคคีศรัทธาจากประเทศไทยและพี่น้องชาวไทย-ญี่ปุ่นร่วมบุญในครั้งนี้

โดยมี พระเทพวชิรกิจมงคล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร, พระครูสังฆสิทธิกร วัดบวรนิเวศวิหาร และคณะเป็นประธานอุปถัมภ์ในพิธี

นอกจากพิธีถวายผ้ากฐินสามัคคียังมีพิธีแต่งตั้งพระครูฐานานุกรมในพระเทพวชิรกิจมงคลจำนวน 3 รูปได้แก่ พระครูสังฆรักษ์มาวิน ขนฺติโก, พระครูสมุห์ณัฐพนธ์ อนุตฺตโรและพระครูใบฎีกาสหภาพ โชติโก

ในวันดังกล่าว

“วัดสยามพุทธาธิราช” เปิดเป็นที่พักสงฆ์อย่างเป็นทางการเมืองเดือนพฤษภาคม2567 ในสังกัดคณะธรรมยุตอยู่ในการปกครองของคณะสงฆ์ธรรมยุตเอเชียตะวันออก โดยมีพระครูสังฆรักษ์มาวิน ขนฺติโก เป็นผู้ดูแลอาวาสแห่งนี้

ขอบคุณ เฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต 

About Author