กระทรวงมหาดไทยจัดทำสมุดภาพประวัติศาสตร์ “สิริราชกัญญานารีรัตน์ Thai Craft Wisdom Legacy”

กระทรวงมหาดไทยจัดทำสมุดภาพประวัติศาสตร์ “สิริราชกัญญานารีรัตน์ Thai Craft Wisdom Legacy”
เฉลิมพระเกียรติ 38 พรรษา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตน ราชกัญญา เผยแพร่พระอัจฉริยภาพฟื้นคืนภูมิปัญญาผ้า-หัตถศิลป์พื้นถิ่นของไทย

เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตน ราชกัญญา จะทรงเจริญพระชนมายุครบ 38 พรรษา ในวันที่ 8 มกราคม 2568 กระทรวงมหาดไทยได้จัดทำ สมุดภาพประวัติศาสตร์ “สิริราชกัญญานารีรัตน์ Thai Craft Wisdom Legacy” เฉลิมพระเกียรติ 38 พรรษา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ราชกัญญา เพื่อเผยแพร่พระวิสัยทัศน์ และ พระอัจฉริยภาพ ในการฟื้นคืนภูมิปัญญาผ้าและหัตถศิลป์พื้นถิ่นของไทย ให้มีความร่วมสมัยและเป็น ที่ยอมรับในระดับสากล ผ่านแนวคิด “แฟชั่นแห่งความยั่งยืน : Sustainable Fashion”

วันนี้ (14.. 67)เวลา14.00. ที่ห้องประชุมฟีนิกซ์1-3ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานการแถลงข่าว โครงการสมุดภาพประวัติศาสตร์ “สิริราชกัญญานารีรัตน์ Thai Craft Wisdom Legacy” เฉลิมพระเกียรติ38 พรรษา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตน ราชกัญญา โดยมี นายเชษฐา โมสิกรัตน์ นายราชันย์ ซุ้นหั้ว รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นายณัฐวัสส์ วิริยานภาภรณ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารกรม/หน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัด กระทรวงมหาดไทยข้าราชการคณะที่ปรึกษาโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก ได้แก่ ดร.ศรินดา จามรมาน นายธนันท์รัฐ ธนเสฎฐการย์ นายศิริชัย ทหรานนท์ นายภูภวิศ กฤตพลนารารวมถึงผู้ประกอบการOTOPและสื่อมวลชนร่วมในงานเป็นจำนวนมาก 

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่หลักในการทำหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชนคนไทยซึ่งชาวมหาดไทยล้วนสำนึกในพระกรุณาคุณที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญาทรงมีพระราชปณิธานอันมุ่งมั่นในการแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยการสืบสาน  รักษาและต่อยอดพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงตลอดจนถึงการน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์มาเป็นแนวทางในการหนุนเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับประชาชนคนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านงานหัตถศิลป์หัตถกรรมด้วยพระองค์ทรงมีความสนพระทัยตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ด้วยการตามเสด็จพระราชดำเนินสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงไปเยี่ยมเยียนราษฎรทั่วทุกหนแห่งซึ่งพื้นที่ที่เสด็จนั้นล้วนแต่มีความยากลำบากทำให้ได้ทรงซึมซับและถูกหล่อหลอมให้เป็นเจ้าฟ้าหญิงนักพัฒนาและเมื่อทรงเจริญวัยพระองค์เสด็จไปทรงงานเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขด้วยการcoachingทำให้ประชาชนคนไทยในทุกถิ่นที่ได้มีความอยู่ดีกินดีมีงานมีอาชีพมีรายได้ที่มั่นคงในการเลี้ยงดูจุนเจือตนเองและครอบครัวให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขอย่างยั่งยืนดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานเมื่อวันที่30มิ.. 63ความว่าประเทศชาติมั่นคงประชาชนมีความสุขแก้ไขในสิ่งผิดสืบสานในพระราชปณิธานภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

คำว่าแก้ไขในสิ่งผิดเราต้องรู้จักสำรวจตรวจสอบการใช้ชีวิตของเราเองว่ามีสิ่งใดที่ทำให้ส่งผลในด้านไม่ดีในชีวิตเช่นเดียวกันในด้านงานหัตถศิลป์หัตถกรรมพระองค์ได้พระราชทานลายผ้าพระราชทานเพื่อปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์ของช่างทอผ้าและผู้ประกอบการได้มีทำให้เกิดผลงานที่มีลวดลายรูปแบบทันสมัยที่เหนือไปกว่าคำว่าสืบสานรักษาด้วยการต่อยอดเพื่อให้ลูกค้าได้เลือกซื้อเลือกหาซึ่งถือเป็นการแก้ไขในสิ่งผิดด้านความเชื่อเพราะไม่ใช่ของเก่าไม่ดีแต่เราต้องต่อยอดด้วยลวดลายใหม่เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้มากขึ้นโดยพระองค์ได้พระราชทานโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุกคือความสุขที่ได้สวมใส่ผ้าไทยในทุกที่ทุกเวลาทุกโอกาสทุกช่วงวัยพระองค์ทรงน้อมนำพระราชดำริที่สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงรื้อฟื้นให้ผืนผ้าไทยทุกผืนได้กลับมามีชีวิตอีกครั้งด้วยการต่อยอดงานด้านแฟชั่นดีไซน์และวิชาการทางแฟชั่นและพระราชทานลายผ้าได้แก่ผ้ามัดหมี่ลายพระราชทานลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯและล่าสุดคือลายสิริ     วชิราภรณ์อีกทั้งพระราชทานแนวคิดSustainable Fashionและเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทานSustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืนแก่ช่างทอผ้าช่างหัตถกรรมผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่สร้างสรรค์ผืนผ้าและหัตถกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมปลอดภัยต่อผู้สร้างสรรค์และ    ผู้สวมใส่เป็นการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้ระดับมาตรฐานสากลที่ทุกกระบวนการสร้างสรรค์ได้สนองแนวพระดำริในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญาจนทำให้ผืนผ้าไทยทุกวันนี้      “ผ้าไทยได้รับความนิยมชมชอบจากผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศสร้างรายได้อันมหาศาลกว่า 70,000 ล้านบาทให้กับคนไทยนายสุทธิพงษ์กล่าวในช่วงต้น

นายสุทธิพงษ์ กล่าว เน้นย้ำว่าสิ่งสำคัญที่สุดของการจัดพิมพ์หนังสือสิริราชกัญญานารีรัตน์ Thai Craft Wisdom Legacy” คือ1)เป็นการถวายพระกำลังใจแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญาพระผู้ทรงทุ่มเทพระวรกายพระสติปัญญาความสามารถและพระราชทานแนวทางให้คนมหาดไทยได้ทำหน้าที่ข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นราชสีห์ผู้จงรักภักดีผู้ทำหน้าที่อำนวยประโยชน์อำนวยสุขและอำนวยความเป็นธรรมให้กับประชาชนคนไทยอันเป็นการแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อจะได้ร่วมกันทำให้ประเทศชาติมั่นคงประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืนสืบไป2)ทำให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติโดยรวมทั้งการจารึกแนวทางการสนองพระดำริของพระองค์เพื่อเป็นบทเรียนให้กับคนรุ่นใหม่และอนุชนคนรุ่นหลังว่าเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินทรงมีแนวทางการทรงงานเพื่อทำให้คนปรับเปลี่ยนทัศนคติและความรู้ความเข้าใจแต่เก่าก่อนให้ได้รับการปรับกลวิธีแนวทางวัสดุอุปกรณ์ด้วยความอดทนเพื่อพัฒนาชิ้นงานให้เกิดความเป็นเลิศและในแง่ประวัติศาสตร์บ้านเมืองจำเป็นต้องมีการจดจารจารึกไว้เพื่อไม่ให้สิ่งดีที่พระองค์พระราชทานไว้นั้นต้องลบหายลางเลือนไปดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานแก่เยาวชนโครงการค่ายผู้นำเยาวชนจิตอาสาหลักสูตรการฝึกปฏิบัติและดูงานเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศรุ่นที่ 1 ใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “…ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์หรือความเป็นมาของชาติบ้านเมืองทั้งที่ดีทั้งที่ไม่ดีเราก็จะรู้ว่าอะไรมันดีอะไรเป็นประโยชน์อะไรมันไม่ดีเพราะว่ามันมีของดีมันก็มีของไม่ดีมันมีของถูกมันก็มีของผิดก็สำคัญที่ว่าจะเปิดใจศึกษาว่าอะไรมันถูกอะไรมันผิดอะไรมันเป็นประโยชน์อะไรมันไร้ประโยชน์แต่อย่างที่บอกว่าประวัติศาสตร์มีทั้งของเลวชั่วร้ายและก็มีทั้งของที่ดีแต่ที่สำคัญคือเราต้องเอาบทเรียนมาใช้…” เรียกอีกอย่างว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ให้กับข้าราชการและประชาชนคนไทยทุกคนเป็นจดหมายเหตุบันทึกเรื่องราวทำให้เราสามารถบำบัดทุกข์บำรุงสุขได้สะดวกรวดเร็วง่ายดายขึ้นอย่างยั่งยืน 

นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า พระองค์ได้พระราชทานหนังสือSustainable Cityให้แก่ตนพร้อมด้วยดร.วันดีกุญชรยาคงจุลเจริญนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทยนายอรรษิษฐ์สัมพันธรัตน์อธิบดีกรมการปกครอง (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน) และนางจิณณารัชช์สัมพันธรัตน์ประธานชมรมแม่บ้านกรมการปกครอง (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน) และพระราชทานพระดำรัสว่าเป็นหน้าที่ของคนมหาดไทยทำให้เกิดSustainable Villageจึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)”ขยายผลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพี่น้องประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชนให้เกิดความยั่งยืนในชีวิตเพราะคำตอบของการพัฒนาอยู่ที่หมู่บ้านด้วยการสร้างทีมมีระบบคุ้มบ้านมีโครงสร้างการดูแลคนในหมู่บ้านเป็นผู้นำต้องทำก่อนหมั่นพูดคุยประชุมสร้างพลังความรักความสามัคคีของคนในชุมชนให้เกิดความเหนียวแน่นเพื่อให้เกิดความยั่งยืนด้วยการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรตามภูมิสังคมมีการปลูกพืชผักสวนครัวการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนในทุกอำเภอตำบลหมู่บ้านซึ่งสิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับเจตนารมณ์76จังหวัด76คำมั่นสัญญาเพื่อการพัฒนาเพื่อความเท่าเทียมเพื่อความยั่งยืนที่พุ่งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามSDGsทั้ง17ข้อเพื่อจะได้ร่วมกันทำให้ประเทศชาติมั่นคงประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืนสืบไป

นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ที่ปรึกษาโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก กล่าวว่าหนังสือสิริราชกัญญานารีรัตน์Thai Craft Wisdom Legacy”เป็นการจดจารจารึกบันทึกการเสด็จทรงงานในทุกด้านตลอด4ปีรวม40 ครั้งซึ่งเป็นพระกรุณาคุณที่พระองค์ทรงพระเมตตาแก่กระทรวงมหาดไทยและคณะทำงานโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุกลงไปcoachingการประกวดผ้าซึ่งเราได้ลงพื้นที่ถึงใต้ถุนบ้านโดยมีข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทยทำงานเคียงข้างกับคณะทำงานด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจซึ่งทุกปีจะมีเรื่องราวที่สนุกสนานเป็นความทรงจำที่ดีที่พวกเราทุกคนได้ร่วมถวายงานพระองค์ท่านจนทำให้พี่น้องช่างทอผ้าและผู้ประกอบการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตจนถึงปัจจุบันและทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาเยาวชนซึ่งจุดเด่นที่พวกเราสัมผัสได้ถึงน้ำพระทัยอันใหญ่ยิ่งคือเราจะเห็นได้ว่าอะไรที่มาจากประชาชนพระองค์ท่านจะทรงโปรดและประทับและตรัสถามพูดคุยอย่างใกล้ชิดพร้อมทั้งจะตรัสถามเสมอว่าเมื่อไหร่จะได้เจอกันอีก” 

นายศิริชัย ทหรานนท์ นักออกแบบและเจ้าของกิจการแบรนด์เธียเตอร์กล่าวว่าดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุกในพระดำริฯด้วยความมุ่งมั่นที่อยากใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในด้านแปรรูปและออกแบบตัดเย็บที่ตนมีความเชี่ยวชาญถ่ายทอดให้กับผู้ประกอบการและช่างทอผ้าทั่วประเทศซึ่งจากวันแรกจนถึงปัจจุบันเราจะเจอทั้งกลุ่มใหม่บ้างและกลุ่มเก่าบ้างซึ่งเราได้รับfeedbackว่าเมื่อนำไปปรับปรุงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปในสิ่งที่ดีขึ้น 

ดร. ศรินดาจามรมาน ที่ปรึกษาโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุกกล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นแฟชั่นดีไซเนอร์นักการทหารและศิลปินซึ่งพระองค์มีพระกรณียกิจเยอะมากดังนั้นเวลาทรงงานบนโต๊ะทรงงานถือเป็นเวลาที่มีค่าจึงจะทรงเข้มงวดและทรงดุเพราะทรงย้ำเสมอว่าจะเป็นการดึงสติให้ทุกคนได้ฟังและจดจ่อกับงานตรงหน้าขอให้ฟังแล้วทำตามผลงานต้องสวยและคุณภาพดีด้วยซึ่งในปีถัดมาทุกคนต่างกลับมาทูลถวายรายงานเป็นเสียงเดียวกันว่าขายดีขึ้นมาก 

นายภูภวิศ กฤตพลนารา ผู้ก่อตั้งและดีไซเนอร์แบรนด์ Issue กล่าวว่าในฐานะนักออกแบบที่ได้มีโอกาสลงไปทำงานเราจะได้รับโจทย์จากพระองค์ท่านมาก่อนและจะทรงตรัสถามหลังจบการลงพื้นที่ว่าวันนี้เป็นอย่างไรบ้างพี่น้องช่างทอผ้าได้รับผลอย่างไรซึ่งช่วงแรกตนรู้สึกเกร็งแต่หลังจากได้ทำงานร่วมกับทุกท่านทำให้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของผลงานในทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนทั้งนี้ท่านสุทธิพงษ์จุลเจริญและดร.วันดีกุญชรยาคงจุลเจริญเป็นผู้เปรียบเสมือนผู้ใหญ่ในครอบครัวที่ให้คำปรึกษาในทุกเรื่องท้ายนี้ตนภาคภูมิใจที่ได้สนองงานและทำงานร่วมกับทุกท่านจึงขอให้พวกเราทุกคนได้เก็บความภูมิใจและความประทับใจนี้ไว้ตลอดไป

นางนิชาภา แซมลำเจียก หรือ ผึ้ง ประธานกลุ่มเพชปุระ จ.เพชรบูรณ์กล่าวว่าสัญลักษณ์Sustainable Fashionที่พระองค์พระราชทานให้เราเป็นสัญลักษณ์รับรองผลงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นสัญลักษณ์แรกของโลกโดยเมื่อครั้งตนได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปประชุมที่ฮ่องกงได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศต่างและตนขอย้ำว่าสัญลักษณ์Sustainable Fashionเป็นการเปิดชีวิตให้กับตนเองและชุมชนถ้าทุกคนทำงานบนพื้นฐานของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมันจะทวีค่าจนเราไม่สามารถที่จะประเมินได้ว่าคุณค่ามันมีมากขนาดไหนแต่สิ่งที่เป็นรูปธรรมคือผลงานได้รับความสนใจสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างล้นหลาม

ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดE-bookสมุดภาพประวัติศาสตร์ สิริราชกัญญานารีรัตน์ ได้ทางhttps://thailandotop.org/e-book/?r3d=thai-craft-wisdom-legacy#1 

About Author