ประวัติความเป็นมา วันอาสาฬหบูชา ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี โดยในปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗

“ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร” หลักธรรมสำคัญในวันอาสาฬหบูชา ๒๕๖๗

ในสมัยพุทธกาลหลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้ว พระองค์เสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งตั้งอยู่ในแขวงเมืองพาราณสี เพื่อพบกับพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ องค์ โดยเดิมทีพระปัญจวัคคีย์คิดว่าพระพุทธเจ้าทรงล้มเลิกความตั้งใจเดิมเสียแล้ว หลังจากที่ไม่บำเพ็ญทุกรกิริยา แต่สุดท้ายพระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมเทศนาที่เรียกว่า “ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร” ในวันเพ็ญเดือน ๘ 

ใจความสำคัญของหลักธรรมคือ การเดินทางสายกลาง โดยอริยมรรคมี ๘ ประการ และอริยสัจ ๔ ประการ ได้แก่

อริยมรรค

  • สัมมาทิฏฐิ หมายถึง การเห็นชอบ
  • สัมมาสังกัปปะ หมายถึง การดำริชอบ
  • สัมมาวาจา หมายถึง การเจรจาชอบ
  • สัมมากัมมันตะ หมายถึง การทำการงานชอบ
  • สัมมาอาชีวะ หมายถึง การเลี้ยงชีพชอบ
  • สัมมาวายามะ หมายถึง การเพียรชอบ
  • สัมมาสติ หมายถึง การระลึกชอบ
  • สัมมาสมาธิ หมายถึง การตั้งใจชอบ

อริยสัจ

  • ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายใจ
  • สมุทัย คือ เหตุให้เกิดทุกข์
  • นิโรธ คือ ความดับทุกข์
  • มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

วันอาสาฬหบูชา ๒๕๖๗ มีความสำคัญอย่างไร?

  • เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศ “พุทธศาสนา” ให้ชาวโลกได้รับรู้
  • เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง “ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร” ซึ่งเป็นหลักธรรมแรกในพระพุทธศาสนา
  • เป็นวันที่กำเนิดพระสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งได้แก่ “พระอัญญาโกณฑัญญะ” โดยเป็นพระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ 
  • เป็นวันแรกที่ “พระรัตนตรัย” ครบองค์ ๓ ได้แก่ พระพุทธ, พระธรรม และพระสงฆ์

กิจกรรมในวันอาสาฬหบูชา ต้องเวียนเทียนไหม?

กิจกรรม วันอาสาฬหบูชา ๒๕๖๗ จะมีชาวพุทธมาร่วมกิจกรรมที่วัดและสถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ในช่วงเช้าและช่วงบ่ายจะมีการฟังธรรม ทำบุญตักบาตร ส่วนในเวลากลางคืนก็จะมีการจุดธูปเทียนเพื่อสำรวมกาย วาจา และใจ ถือธูปเทียนและดอกไม้ในการยืนประนมมือและเดินเวียนเทียนทำประทักษิณ (เดินเวียนขวา) นอกจากนี้ก็จะมีการสวดมนต์ สนทนาธรรม รวมถึงวิปัสสนาและเจริญภาวนา. 

About Author