CPP Myanmar มุ่งพัฒนาการทำการเกษตร ของประเทศเมียนมาสู่การทำเกษตรยั่งยืน

ขับเคลื่อนต่อเนื่องการทำเกษตรยั่งยืนของ เกษตรกรสมาชิกฟาร์มโปรประเทศเมียนมา
CPP Myanmar มุ่งพัฒนาการทำการเกษตรของประเทศเมียนมาสู่การทำเกษตรยั่งยืน ให้ความสำคัญทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สร้างเกษตรกรผู้นำในโครงการ Train the trainer เพื่อนำองค์ความรู้ถ่ายทอดสู่เกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ พร้อมการขับเคลื่อนกิจกรรม “Zero Burn, Zero Waste” เพื่อก้าวสู่องค์กรมีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutral)
ธุรกิจฟาร์มโปรประเทศเมียนมา ร่วมมือกับเกษตรผู้นำมาเข้ารับการอบรม Train the trainer เพื่อนำความรู้ไปขยายผลถ่ายทอดต่อไปยังเกษตรกรสมาชิกในพื้นที่ของตน เช่น รัฐมัณฑะเลย์, รัฐเนปิดอว์, รัฐบาโก และรัฐอิระวดี เพื่อผลักดันให้เกษตรกร ทำการเกษตรตามมาตรฐานการเพาะปลูกที่ไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทั้ง 6 กิจกรรมที่ได้มีการจัดอบรมไป เช่น
กิจกรรมลดการเผา (Biomass Utilization) เป็นการจัดการและลดผลกระทบที่เกิดจากการเผาชีวมวลที่เหลือในพื้นที่ให้สามารถนำไปใช้ทำประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้


เก็บเกี่ยวข้าวโพดโดยใช้รถเก็บเกี่ยวที่สามารถย่อยต้นข้าวโพดให้เป็นชีวมวลใช้ปรับโครงสร้างดินและตัดต้นข้าวโพดนำไปเป็นอาหารสัตว์
การทำเตาชีวมวล (Biomass Stove Activities) การจัดการชีวมวลหลังการเก็บเกี่ยว โดยการทำเตาชีวมวลเพื่อใช้ประโยชน์จากชีวมวล เตาที่เผาไหม้สมบูรณ์จะลดการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์และใช้สามารถเป็นแหล่งพลังงานเพื่อการหุงต้มในครัวเรือนได้
การทำนาเปียกสลับแห้ง (Alternative Wet and Dry Activities) เกษตรกรเรียนรู้การควบคุมระดับน้ำในแปลงนาให้มีช่วงน้ำขัง สลับกับช่วงน้ำแห้ง สลับกันไป ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดการเกิดและปล่อยก๊าซมีเทน สู่บรรยากาศ

การสร้างเกษตรผู้นำผ่านโคงการ Train the trainer จะนำไปสู่การพัฒนาการทำการเกษตรในเชิงอนุรักษ์ สร้างมาตรฐานเกษตรยั่งยืนให้กับประเทศเมียนมา CPP Myanmar ยังขยายผลต่อโดยได้เข้าร่วมกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับจากการรับซื้อผลผลิต ภายใต้การประเมินความยั่งยืน FSA (Farm Sustainability Assessment) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้ในการประเมินรับรองว่าการผลิตทางการเกษตรมีขั้นตอนที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการจัดการต้นน้ำการผลิตตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนระยะยาวตลอดห่วงโซ่อุปทาน รักษาสมดุลการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้ยั่งยืนอย่างแท้จริง


