IAM แถลงผลงานปี 2566 พร้อมวางกลยุทธ์ดำเนินการเชิงรุกในปี 2567
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด (บสอ. หรือ IAM) แถลงผลการดำเนินงาน ปี 2566 โดยมีรายได้จากการดำเนินงานรวม 1,385 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรสุทธิกว่า 522 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งมาจากการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) ทั้งในกลุ่มลูกหนี้รายใหญ่และรายย่อย รวมถึงการจัดการทรัพย์สิน รอการขาย (NPA) ด้วยกลยุทธ์การตลาดแบบสร้างเครือข่าย ยังคงดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งกำหนดทิศทางองค์กรสำหรับปี 2567 เตรียมพร้อมดำเนินงานเชิงรุก ในการเพิ่มประสิทธิภาพการรับชำระหนี้ครอบคลุมลูกหนี้ทุกกลุ่มและเพิ่มช่องทาง Digital ในการจำหน่าย ทรัพย์สินรอการขาย (NPA) โดยมุ่งเน้นยกระดับกระบวนการสู่การบริหารงานรูปแบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มศักยภาพในกระบวนการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพและการจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย รวมทั้งส่งเสริมพัฒนาภาพลักษณ์องค์กรต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย(Stakeholder) ตลอดจนการส่งเสริมศักยภาพการบริหารจัดการองค์กรให้มีความเข้มแข็งทั้งในด้านระบบงานและการพัฒนาบุคลากร พร้อมรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืน
นางโศรยา ลิมปิทีป ผู้จัดการ บริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัดแถลงผลการดำเนินงานในปี 2566 ในด้านการรับชำระหนี้และจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย (Cash Collection) รวม 1,821 ล้านบาท มาจากการรับชำระหนี้จากกลุ่มลูกหนี้รายใหญ่และรายย่อย 1,685 ล้านบาท และการจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย 136 ล้านบาท โดยผลประกอบการรับรู้เป็นรายได้จากการดำเนิงานรวม 1,385 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรสุทธิ 522 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 19% จากการเร่งรัดการรับชำระหนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับในด้านการจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย บสอ. ได้เพิ่มช่องทางการจำหน่ายบนช่องทางออนไลน์ จัดให้มีการประมูลทรัพย์สินรอการขายในรูปแบบออนไลน์ การออกบูธและลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ Road Show ส่งผลให้รายได้จากการขายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนนอกจากนี้ บสอ. ยังตอบสนองนโยบายภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตามมาตรการ โดยได้เข้าร่วมมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ ทั่วประเทศซึ่งจัดโดยกรมบังคับคดี จำนวน 5 ครั้ง มีลูกหนี้เข้ารับบริการรวมทั้งสิ้น จำนวน 155 ราย ยอดไกล่เกลี่ยรวมกว่า 60 ล้านบาท
สำหรับทิศทางการดำเนินงานและเป้าหมายในอนาคตนั้น ในปี 2567 บสอ. ยังคงขับเคลื่อนองค์กร พร้อมดำเนินงานเชิงรุก (Strive and Reform) กำหนดวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อยกระดับกระบวนการสู่ดิจิทัล(Enforce Digitize Process) มุ่งเน้นการบริหารจัดการสินทรัพยด้อยคุณภาพและการจำหน่าย NPA ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยจัดทำแผนปฏิบัติการในการเร่งรัดกระบวนการติดตามการรับชำระหนี้ ทบทวนระบบงาน (Work System) กระบวนการทำงานให้มีการเชื่อมโยงและส่งเสริมการทำงานร่วมกัน ปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการ Outsource ในกระบวนการติดตามหนี้ รวมถึงการขยายช่องทางการจำหน่าย NPA และกำหนดมาตรการส่งเสริมการขาย ที่เหมาะสมเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการบริหารหนี้ และการบริหารทรัพย์สินรอการขาย เช่นการพัฒนาตัวแบบในการวิเคราะห์ Margin ที่เหมาะสมเพื่อการตัดสินใจ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลในการใช้งานร่วมกัน
นอกจากนี้ บสอ. ยังส่งเสริมการพัฒนาภาพลักษณ์องค์กรต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย(Enterprise Image) ในการปรับภาพลักษณ์และสร้างการรับรู้ในบทบาทของ บสอ. และส่งเสริมองค์กรให้มีการดำเนินการอย่างโปร่งใส รวมถึงการส่งเสริมศักยภาพการบริหารจัดการองค์กร(Enhanced Core Business Enablers) โดยการทบทวนกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเพื่อรองรับการดำเนินงาน และยกระดับระบบบริหารทุนมนุษย์ (HRM) ทบทวนยกระดับแรงจูงใจ ระบบประเมินผล และการจัดการความรู้ (Knowledge Management)