2 ค่ายยักษ์ยานยนต์ไฟฟ้า ตอกย้ำ ทุนจีนที่ทำ EV ไทยไม่ใช่ศูนย์เหรียญ

Evat นำ2ค่ายยักษ์ยานยนต์ไฟฟ้า อย่าง MG และ CHANGAN มาตอกย้ำ ทุนจีนที่ทำ EV ในประเทศไทยไม่ใช่ศูนย์เหรียญ

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 นายวรากร กติกาวงศ์ ประธานฝ่าย สื่อสารองค์กรของสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยหรือEVAT นำ2ค่ายยักษ์ยานยนต์ไฟฟ้าอย่าง MG และ CHANGAN มาตอกย้ำ ทุนจีนที่ทำ EV ในประเทศไทยไม่ใช่ศูนย์เหรียญ โดยครั้งนี้มีนายสุโรจน์ แสงสนิค รองประธานกรรมการบริหารของ บริษัท SAIC MOTOR CP หรือMG และ นายอรรถวิทย์ เตชะวิบูรณ์วงษ์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการกิจสัมพันธ์ South East เอเชีย ของ CHANGAN มาร่วมชี้แจงจากที่มีกระแสข่าวออกมาว่าทุนจีนทำให้เศรษฐกิจไทยภาคผลิตไทยตกต่ำ และเป็นศูนย์เหรียญ ในนามของสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยจึงได้เชิญผู้บริหารของ ของค่ายรถยนต์ไฟฟ้าทั้ง 2 ท่าน เข้ามาร่วมพูดคุยกันอธิบายเพิ่มเติมในเรื่องของศูนย์เหรียญ ศูนย์เหรียญคือการนำนักท่องเที่ยวจีนเข้ามา ทานข้าวไปร้านอาหารสถานที่ต่างๆโดยเป็นกลุ่มเป็นแพ็คของคนจีนซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้คนไทยจะไม่ได้ ประโยชน์อะไรจากศูนย์เหรียญ แต่มีกระแสข่าวออกมาว่า EV เป็น EV ศูนย์เหรียญ มันทำลายเศรษฐกิจไทยอันนี้ขอชี้แจงไม่ใช่อย่างแน่นอนเพราะ การสร้างโรงงานผลิตรถไฟฟ้ามีการซื้อที่ดินมูลค่าเป็นพันๆล้านที่ดินที่ประเทศไทยมีภาษีและเรื่องของแรงงาน แรงงานเป็นคนไทย ไม่ว่าจะทางฉางอันหรือว่าเป็นทาง MG ก็ตามมีการจ้างงานมากกว่า 1,000 คนไม่ได้เอาคนจีน มาทำงานในประเทศไทยงซึ่งประเทศไทยได้รับประโยชน์ จากการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งวันนี้ทั้ง 2 ท่านมาชี้แจงว่าไม่ใช่เป็นเรื่องของศูนย์อย่างที่เข้าใจกัน นายวรากร กติกาวงศ์ ประธานฝ่าย สื่อสารองค์กรของสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยหรือEVAT กล่าว


ทางด้านนายสุโรจน์ แสงสนิค รองประธานกรรมการบริหารของ บริษัท SAIC MOTOR CP หรือMG กล่าวว่าปีนี้เป็นปีที่ 11 แล้วที่MGตั้งอยู่ในประเทศไทยแล้วก็ พื้นที่โรงงานก็ 437 ไร่ ที่ซื้อพื้นที่แล้วก่อสร้างโรงงานขึ้นใน ประเทศไทยมีพนักงานคนไทย ณ วันนี้ก็ประมาณ 1,300 คนคนจีนอยู่ประมาณ 30 กว่าคนเองในทางกฎหมายของไทยรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ รถไฟฟ้า รถน้ำมันจะต้องมี Local Content ไม่น้อย กว่า 40%นั่นหมายความว่าเราต้องเผื่ออัตราแลกเปลี่ยนต้องทำรายได้ 100ล่ะ กว่า 45% จึงจะเรียกว่าจุดที่สบาย ใจตั้งแต่รถน้ำมันมาถึงรถไฟฟ้า ไม่ได้บอกว่ารถไฟฟ้าจะทำได้แค่ 20% หรือ อะไรก็ตามแต่นะก็ต้องผ่านกฎหมายเดียวกัน รถไฟฟ้าตอนนี้ผลิตในประเทศแล้ว 2 ยี่ห้อนะที่เริ่มผลิตแล้วที่ตั้งโรงงานแล้วจากที่มีทั้งหมด 5 ยี่ห้อในปัจจุบัน ที่ผลิตแล้วก็มีLevelเริ่มขายแล้ว ตั้งแต่เดือนมกราคมเพราะฉะนั้นเ เขาก็ต้องผ่านมาตรฐานกฎหมายไทยเงื่อนไข Local Content ผลิตในประเทศซื้อของในประเทศไม่น้อยกว่า 40% เปิดตัวในงานมอเตอร์โชว์ปีนี้เงื่อนไขก็เหมือนกันไม่น้อยกว่า 40% แล้วในส่วน ของ MG เราไม่เคยคิดถึงสัญชาติเลยว่าผู้ผลิตที่ไหนสวย จะต้องเป็น สัญชาติใดเรามีทั้งชาติ ไทยชาติญี่ปุ่นทุกชาติเลยและยุโรปที่ทำ ชิ้นส่วนให้เราให้เพราะฉนั้นที่มาของข่าวEV ศูนย์เหรียณ มาจากไหนควรจะถามคนทำมากกว่าแม้กระทั่งชิ้นส่วนเองในประเทศบริษัทใหญ่ อย่างไทยสมิทก็ทำชิ้น ส่วน EV เป็น High จากบริษัทไทยสมิท ซึ่งเป็นไทย ที่มาใช้กับรถของMG ที่เปิดตัวในมอเตอร์โชว์ ใช้ของไทยอยู่นอกจากไม่ต่ำกว่า 40% แล้วยัง ไม่น้อยกว่า 17 ชิ้นด้วย รวมถึงแบตเตอร์รี่ การที่มีคนออกมาพูดว่าศูนย์เหรียญแบบนี้ทำเสียหายมากน้อยมั้ยนั้นเสียความรู้มากกว่า ในส่วนตัวอยู่ MGมาปีนี้ปีที่ 18 แล้ว นายสุโรจน์ แสงสนิคกล่าว

นายอรรถวิทย์ เตชะวิบูรณ์วงษ์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการกิจสัมพันธ์ South East เอเชีย ของ CHANGAN กล่าวในส่วนของบริษัทฉางอันเข้ามาในประเทศไทยได้รับการชักชวนจากภาครัฐบาลไทยซึ่ง มีการทำไปรถโชว์ที่จีนมีการคุย กับทางบริษัทแม่หลายรอบใช้เวลานานมากจนบริษัทตัดสินใจที่จะเข้ามาต้องบอกว่าไม่ได้ดุ่มๆเข้ามาเอง มาตามคำเชิญของรัฐบาลแล้วก็เข้ามาด้วยกระบวนการ ที่ถูกต้อง ในส่วนของการเริ่มต้นก็มีแผนชัดเจนเลยว่าจะมีการเอาเข้ามาทำตลาดก่อนโดยการนำเข้ารถยนต์เข้ามาซึ่งการนำเข้านั้น ก็ผ่านใช้สิทธิ์ตาม ของจีนซึ่งมีมาก่อนหน้านี้นานมาก ซึ่งอนุญาตให้เอารถไฟฟ้าจากจีนเข้ามาในประเทศไทยโดยเสียภาษีที่ 0% ในการลดอัตราภาษีนำเข้านะครับเหลือ 0% ซึ่ง อันนี้เป็นที่ที่รู้กันอยู่แล้ว ส่วนภาษีสรรพสามิตเสียตามเกณฑ์ถ้าเป็นรถนำเข้าไม่ได้ไม่ได้เอาเข้าโครงการอะไรภาครัฐก็เสีย 88% แต่ถ้าเข้าโครง การ EV 3.0 EV 3.5 ภาครัฐลดภาษีให้ เหลือ 2% แต่ไม่ได้ได้มาฟรี สุดท้ายบริษัทจะต้องมีการผลิตชดเชยในประเทศ ไทยพอถึงขั้นตอนนั้นบริษัทก็ได้วางแผนคือ การซื้อที่ดินของที่ที่นิคมอุตสาหกรรม wsa ที่ระยอง 250 ไร่ ตอนนี้เริ่มก่อสร้าง โรงงานคาดว่าน่าจะเสร็จประมาณสิ้นปี แล้วก็เริ่มเดินสายกันในต้นปีหน้า มองว่าจากคำว่าศูนย์เหรียญ ถ้าเห็นกระบวนการถูกต้องตามกฎระเบียบตามกฎหมายการลงทุนจริงมีการอัดฉีดเงิน ลงมาในเศรษฐกิจของประเทศไทยจริงในส่วนของการผลิตต่อขั้นต่อไปมีการเลือก supplier ในการเลือกใช้ ชิ้นส่วนปฏิบัติตามกฎหมายไทยอยู่แล้ว. คาดว่าเราจะจัดตั้งเขตฟรีโซนกฎของ Zone ก็คือเราจะต้องมีการใช้ Local Content หรือชิ้นส่วนในประเทศมูลค่าไม่น้อยกว่า 40% เป็นกฎที่ถูกเขียนเอาไว้ทุก อุตสาหกรรมต้องทำหมดไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ ที่รถยนต์ Ice หรือเรียกสันดาบ รถยนต์ EV ไม่ว่าจะเป็นค่ายไหนทุกค่ายที่ เข้ามาตั้ง netflix กดเดียวกันหมด เพราะฉะนั้นจะถามว่ารถ EV จีนได้ สิทธิพิเศษอะไรมากกว่ารถน้ำมันของค่าย อื่นๆ ทุกคนอยู่บนเกมเดียวกันคือ 40% Content แล้วการที่จะ CQ 40% นั้นเราก็ ต้องมีเรื่องของการแลกเปลี่ยนส่วนใหถึง 45% ของ produc เพราะถ้าเราทำไม่ถึงเราไม่สามารถเอารถออก จากฟรีโซนมาขายเมืองไทยได้ ต้องเสียภาษีอีกเยอะเลยเพราะว่ามันเป็น กฎอันนี้เบื้องต้นขออนุญาตตำหนิคนที่มาออกข่าวตัวศูนย์เหรียญเหลือเกิน ใน ประเทศไทยเริ่มต้นจากที่ MG ตั้งแต่ปี 2019 ทำราคา 1 ล้านบาททำให้คนซื้อรถใหม่ประมาณ1ล้านปี 2020 เราทำ ต่ำกว่าล้าน ณ วันนั้นไม่มีนโยบายสลับอะไร จนกระทั่งมีนโยบาย EV มาแล้วเราหลาย ๆค่ายก็เข้าไปร่วม ถ้าพูดถึงจริงๆแล้วเราใช้ภายใต้ China H นำเข้ามา 0% 49 0% แล้วก็38 อย่างที่ไม่ต้องลงทุนอะไร แต่ในเมื่อประเทศไทยเรามีนโยบาย ที่จะต้องต้องการให้เป็นเบอร์ 1ในการที่จะผลิตรถไฟฟ้าที่เหมือนกับที่เรา เป็นเบอร์ 1 ผลิตรถ Ice ในอาเซียนใน ปัจจุบันนะเราต้องการเป็นเบอร์ 1 ในการผลิตรถไฟฟ้าในอาเซียนเหมือนกันเพราะฉนั้นนี่ คือสาเหตุที่พวกเราก็มาร่วมนี้การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศตามที่จริงแล้วถ้าคิด แบบง่ายๆการลงทุนเรานำเข้ามา ขายถูกขณะเดียวกันการผลิตก็ไม่ใช่เรื่อง ง่ายกว่าจะผลิตได้ ต้องการมีการแข่งขันกับจีนด้วยกันเองนะ ในการนำเข้า 0% ผลิตใน ประเทศต้นทุนจีนที่น้อยกว่าเยอะเลย เพราะฉนั้นเราต้องพยายามทำทุนต้นทุนต่ำให้สามารถแข่งขันได้นี้เป็นเรื่อง ที่ไม่ง่ายเลยอย่าออกมาบอกแค่ศูนย์ เหรียญรู้สึกไม่ส่งเสริมจริงๆ แล้วนอกจากประเทศไทยประเทศในอาเซียนก็ พยายามดึงจีนให้ไปลงทุน สุดท้ายถ้าพวกเราส่วนร่วม คนไทยก็มีส่วนร่วมในการที่ดึงให้เกิดเม็ด เงินลงทุนนี้เข้ามาทั้งภาครัฐภาค เอกชนต่างๆ

About Author