“เซเว่นอีเลฟเว่น” ชวนคนไทยรำลึกถึงพระคุณครู ผ่านโฆษณา “เชิดชู ครูผู้ให้ชีวิตใหม่”
“เซเว่นอีเลฟเว่น” ชวนคนไทยรำลึกถึงพระคุณครู ผ่านโฆษณา “เชิดชู ครูผู้ให้ชีวิตใหม่” พร้อมกันถึง 2 เรื่อง
เป็นประจำทุกปีที่ ที่มี“เซเว่นอีเลฟเว่น” การนำเสนอเรื่องราวของอาชีพเรือจ้างหรือ “ครู” เพื่อเป็นการ เชิดชูคุณครูต้อนรับวันที่ 16 มกราคมของทุกปี ซึ่งเป็น “วันครูแห่งชาติ” และใน ปี 2565 เป็นครั้งแรกที่เซเว่นอีเลฟเว่น สร้างสรรค์โฆษณา 2 เรื่อง ผ่านแนวคิด “เชิดชู ครูผู้ให้ชีวิตใหม่” ประกอบด้วย ครู…ข้างถนน ความยาวประมาณ 4.38 นาที และ ครู..โลกเงียบ ความยาวประมาณ 6.45 นาที
สำหรับเรื่อง “ครู…ข้างถนน” เป็นการนำเสนอเรื่องราวของ “ครูเจี๊ยบ วรัทยา จันทรัตน์” ซึ่งจบการศึกษา ในระดับปริญญาเอก มีคำนำหน้าว่า “ดอกเตอร์” แต่กลับอุทิศตัวให้กับการบ่มเพาะความรู้แก่เด็กเร่ร่อน เด็กขอทานตามชุมชนต่างๆเป็นเวลานานกว่า 15 ปีแล้ว เพียงเพราะต้องการประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่เด็กๆผู้ด้อยโอกาส ไม่เเพียงแค่เด็กๆจะได้มีวิชาความรู้เป็นสมบัติติดตัวตลอดชีวิต แต่ “ครูเจี๊ยบ วรัทยา” ยังเป้นบุคคลสำคัญที่ช่วยทำให้เด็กๆได้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น หลุดพ้นจากยาเสพติดมีการประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงตนเอง และครอบครัวต่อไป
นอกจากนี้ สิ่งที่ “ครูเจี๊ยบ วรัทยา” ได้อุทิศตนแก่เด็ก สังคม ชุมชนต่างๆ ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากทางราชการแต่อย่างใด กระนั้นก็ไม่เคยย่อท้อ ทว่า การลงพื้นที่ชุมชนต่างๆ เผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมจากมลพิษต่างๆ ทั้งกลิ่นขยะ ควันจากการเผาขยะ ทำให้ต้องประสบปัญหาสุขภาพ ปอดถูกทำลายอย่างน่าใจหาย และต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล
ทั้งนี้ หนึ่งในการสอนของ “ครูเจี๊ยบ วรัทยา” ปลูกฝังแก่เด็ก ๆ คือการหยอดกระปุกสั่งสมความดีในแต่ละวัน ผลแห่งการทำดีนั้นได้กลับคืนแก่ “ครูเจี๊ยบ วรัทยา” โดยวันที่ 5 สิงหาคม 2562 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ รับไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์
ปัจจุบัน “ครูเจี๊ยบ วรัทยา” ก็ยังคงลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบความรู้ให้แก่เด็ก ๆ แม้ต้องเผชิญอันตรายจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก็ตาม
“การศึกษาจะเป็นวัคซีน ให้เด็กเร่ร่อนมีภูมิคุ้มกัน จากสิ่งเลวร้ายและไม่กลายเป็นปัญหาสังคมในอนาคต” นี่เป็นประโยคที่ “ครูเจี๊ยบ วรัทยา” พูดย้ำอยู่เสมอ
อย่างไรก็ตาม “ครูเจี๊ยบ วรัทยา” มอบวิชาความรู้ให้แก่เด็กๆไปแล้วกว่า 1,000 ชีวิต ใน 91 ชุมชน และยังคงเดินหน้าทำความดี สอนเด็กๆ ต่อไป
โฆษณาส่งเสริมสังคมดังกล่าว ถูกนำเสนอผ่านสื่อต่างๆมากมาย และผู้บริโภคให้การตอบรับอย่างดี มีส่วนร่วม(Engagement)ในการแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก โดยช่องทางยูทูป (Youtube) มีผู้เข้าชมกว่า 3.5 ล้านวิว(View) หลังนำเสนอไปเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 ส่วนเฟซบุ๊ก(Facebook) ยอดวิวสูงกว่า 12.7 ล้านวิว (ณ วันที่ 14 มกราคม 2565)
กดรับชม ครูข้างถนน (ครูเจี๊ยบ) : https://www.facebook.com/watch/?v=352478372967038
ส่วนเรื่อง “ครู..โลกเงียบ” เซเว่นอีเลฟเว่น หยิบเรื่องราวของ “ครูญาดา ชินะโชติ” คุณครูวัย 75 ปี ที่เกษียณอายุราชการ แต่ยังคงทุ่มเทสอนหนังสือเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
“ครูญาดา” เป็นศิษย์รุ่นแรกของโรงเรียนเศรษฐเสถียร ด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู ทำให้ทุ่มเท อุทิศการสอนหนังสือที่โรงเรียนแห่งนี้เป็นเวลามากกว่า 57 ปีแล้ว ถึงแม้จะเป็นผู้บกพร่องทางการได้ยินแต่ครูญาดาก็ตาม
นอกจากอบรมบ่มเพาะเด็กนักเรียนแล้ว หลายครั้งที่ “ครูญาดา” ต้องเดินทางไปถึงต่างจังหวัด เพื่อพบผู้ปกครองและสอนภาษามือให้แก่พ่อแม่ของเด็ก จนสามารถใช้ภาษามือสื่อสารกับบุตรหลานได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นการแก้ปัญหาช่องว่างที่เกิดขึ้นของคนในครอบครัว เพื่อให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขยิ่งขึ้น
ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลง คำศัพท์ ภาษาใหม่ๆเกิดขึ้น “ครูญาดา” ยังพัฒนา ปรับปรุงการสอนโดยเขียนตำราภาษามือใหม่ ๆ เพื่อใช้สื่อสารและสอนนักเรียนให้สอดคล้องกับยุคสมัยมากขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ความต้องการของ “ครูญาดา” ไม่เพียงทำให้โลกเงียบของเด็กๆ เป็นโลกใบใหม่ที่ผู้ปกครอง ผู้คนในสังคมรับฟังเสียง สิ่งที่อยู่ในจิตใจของเด็กๆมากขึ้น แต่ภารกิจที่ยิ่งใหญ่คือการขอทำหน้าที่เป็น “ครูที่ดี” ตลอดเส้นทางเดินของชีวิตนั่นเอง
สำหรับ “ครู…โลกเงียบ” เพิ่งถูกปล่อยบนยูทูป ส่วนเฟซบุ๊ก มียอดวิวกว่า 3.5 ล้านวิวแล้ว ยอดไลก์นับหมื่นและการแชร์กว่า 1,800 ครั้ง
กดรับชม ครูโลกเงียบ (ครูญาดา) : https://www.facebook.com/watch/?v=328038845851116
อย่างไรก็ตาม เซเว่นอีเลฟเว่น สร้างสรรค์งานโฆษณาเชิดชูครูผู้ให้มาถึง 10 เรื่องแล้ว เช่น ครู…ผู้สร้างคน ครู…ผู้ขัดเกลา พระคุณครู…ไม่มีวันเกษียณ ครู..ผู้เป็นดวงประทีปส่องทาง และครู…ผู้เสียสละ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดบทบาทของ “เซเว่นอีเลฟเว่น” เพียงต้องการเชิญชวนชวนคนไทยร่วมรำลึกถึงพระคุณครู ร่วมปลุกจิตสำนึกคนไทยให้เห็นความสำคัญ กตัญญูต่อพระคุณ ครู และส่งเสริมวิชาชีพครูอยากให้ครูมีกำลังใจในการทำหน้าที่แม่พิมพ์ของชาติต่อไป