กู๊ด ด็อกเตอร์ ร่วมมือพันธมิตร ขับเคลื่อนนวัตกรรมบริการสุขภาพทางไกลในประเทศไทย
กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี ผู้นำในเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเติบโตของบริการสุขภาพทางไกลในประเทศไทย
• ในปีที่ผ่านมา บริษัท กู๊ด ด๊อกเตอร์ เทคโนโลยี่ (GDT) ได้เริ่มดำเนินการให้บริการในประเทศไทยโดยการฝึกฝนทีมแพทย์ให้พวกเขาสามารถให้คำปรึกษาการแพทย์ทางไกลที่มีคุณภาพและให้บริการผู้ป่วยได้อย่างดี
• GDT ได้เข้าร่วมโครงการการดูแลผู้ป่วยกักตัวที่บ้าน (HI) กับทางสำนักงานประกันสุขภาพ (NHSO) การดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ทั่วประเทศ โดยให้บริการด้านสุขภาพผ่านทางช่องทางออนไลน์ด้วยความรวดเร็ว
กรุงเทพ 17 มกราคม พ.ศ. 2565 บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (Good Doctor Technology Thailand: GDTT) ประกาศความมุ่งมั่นในการร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆในการให้บริการด้านสุขภาพในประเทศไทย การให้ความสำคัญทางธุรกิจนี้สอดคล้องกับแนวโน้มการเติบโตของความต้องการให้เกิดการจัดการสุขภาพระยะยาวที่เข้าถึงได้ง่ายและมีราคาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการใช้การบริการสุขภาพด้วยระบบดิจิทัลในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยการร่วมมือกันกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีวิสัยทัศน์ตรงกัน และ การริเริ่มโครงการเกี่ยวกับการใช้งานการแพทย์ทางไกลที่นอกเหนือไปจากการใช้งานในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข GDTTมุ่งสร้างแนวทางใหม่ของการดูแลสุขภาพในอนาคตในประเทศไทย ด้วยการนำหลักการให้บริการทางดิจิตัล มาใช้ในการลดช่องว่างการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานในประเทศ การเป็นบริษัทในเครือของ กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี ผู้นำในเทคโนโลยีด้านสุขภาพจากประเทศสิงคโปร์ ช่วยให้ GDTT ได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้การใช้งานด้านสุขภาพดิจิทัลต่าง ๆ ที่จะมาช่วยพัฒนาการให้บริการในแอปพลิเคชัน นอกจากนี้ GDTT ยังสามารถเรียนรู้และนำแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดจากการทดลองและทดสอบของบริษัทแม่เพื่อจะได้นำมาใช้ในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยอีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2565 GDTT วางแผนจะร่วมมือกับพันธมิตรที่มีส่วนในการทำงานในระบบสุขภาพ รวมไปถึงผู้มีอำนาจตัดสินใจในหน่วยงานราชการต่าง ๆ GDTT จะพัฒนาความสัมพันธ์กับหน่วยงานด้านการดูแลสุขภาพในพื้นที่ และหาแนวทางการใช้งานอื่น ๆ ของการแพทย์ทางไกลในระยะยาวนอกเหนือไปจากการใช้งานในการจัดการผู้ป่วยโรคโควิด-19 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564ที่ผ่านมา GDTT ได้ให้บริการสุขภาพออนไลน์ภายใต้โครงการกักตัวดูแลที่บ้าน หรือ Home Isolation ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือ NHSO และมีประสบการณ์ในการให้บริการด้านสุขภาพทางไกลด้วยความรวดเร็ว และได้สานต่อเตรียมพร้อมรับมือกับระลอกต่อไปของการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนอีกด้วย ในขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่รายวันกำลังเพิ่มสูงขึ้น GDTT คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในการดูแลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับการระบาดในระลอกที่ผ่านมา
แนวโน้มนี้ยังชี้ให้เห็นถึงการยอมรับและความคุ้นชินที่เพิ่มขึ้นต่อบริการสุขภาพดิจิทัลและการแพทย์ทางไกลในประเทศไทย นอกเหนือจากการร่วมมือกับทางภาครัฐบาล GDTT ได้วางแผนจะร่วมมือกับบริษัทพันธมิตรเพื่อจะสนับสนุนการจัดการสุขภาพให้บริษัทต่าง ๆ ในยุคนิวนอร์มอล ที่ยังคงมีการทำงานแบบผสมผสานระหว่างการทำงานที่บ้านและการทำงานที่ที่ทำงาน GDTT วางแผนจะเพิ่มการเข้าถึงการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ที่ไร้ขีดจำกัดโดยทีมแพทย์ประจำบริษัทที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีในแอปพลิเคชัน Good Doctor ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่น้อยมากหากเปรียบเทียบกับราคาของแผนประกันสุขภาพทั่วไป หลังได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ พนักงานของบริษัทต่างๆเหล่านั้น จะได้รับยาบำรุงสุขภาพและยาตามใบสั่งแพทย์ส่งถึงบ้าน และพวกเขายังสามารถใช้บริการด้านสุขภาพอื่น ๆ บนแอปพลิเคชันได้อีกด้วย นอกเหนือไปจากนี้ GDTT จะเปิดตัวบริการใหม่ ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงสำหรับพนักงานของบริษัท ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสุขภาพสำหรับพนักงานที่ออกแบบมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และ การใช้ชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี (wellness and healthy lifestyle) แก่พนักงาน ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดอัตราการลางานได้ บริการเหล่านี้จะเกิดจากการเป็นพันธมิตรกับบริษัทยาและบริษัทประกันระดับโลก และ การขยายเครือข่ายโรงพยาบาลเพื่อมอบการให้บริการทางการแพทย์ครบวงจรให้แก่ผู้ใช้งาน ซึ่งรวมถึงบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการส่งต่อการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญตามความจำเป็น
เมลวิน หวู ประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับภูมิภาคของกู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี กล่าวว่า “จากการที่เราได้ลงทุนและเติบโตในธุรกิจ เราได้เล็งเห็นคุณค่าของการเป็นผู้นำในการพัฒนานวัตกรรมและออกแบบบริการในแอปพลิเคชันอย่างเอาใจใส่ เพื่อที่จะช่วยให้ชีวิตของผู้รับบริการเกิดความเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย เราใช้การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูลในการค้นหาข้อมูลเชิงลึกที่จะช่วยให้เราพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาสุขภาพที่คำนึงถึงความต้องการทางสุขภาพของผู้ใช้แต่ละคน ภายใต้แผนการเติบโตของเรา สำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของนวัตกรรมและความรู้ และเป็นที่ที่เราจะทำการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านสุขภาพใหม่ ๆ ที่เราจะนำเสนอในประเทศต่าง ๆ ที่เราให้บริการ”
นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ บริษัท กู๊ด ดอกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ผมหวังจะเห็นการยอมรับเทคโนโลยีสุขภาพในรูปแบบดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เนื่องด้วยประโยชน์ที่จะได้รับในด้านการบริการสุขภาพระยะยาว ประเทศไทยต้องเร่งนำการแพทย์ทางไกลมาใช้เพื่อการจัดการด้านสุขภาพทั่วไปและความเป็นอยู่ที่ดีให้เต็มที่ แทนที่จะมองว่าการบริการแพทย์ทางไกล เป็นการให้บริการเฉพาะกิจแค่ในช่วงเกิดการแพร่ระบาดเท่านั้น ด้วยการร่วมมือกับส่วนต่างๆในการให้การดูแลสุขภาพ ตั้งแต่ผู้กำหนดนโยบายภาครัฐ จนถึงผู้ใช้บริการ ผมคาดว่าภายในระยะเวลาหนึ่งปี ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการสุขภาพจะหันมาใช้บริการดิจิทัลมากขึ้น และได้รับความสะดวกสบายและมั่นใจขึ้นในการให้คำปรึกษาของแพทย์กับผู้ป่วยออนไลน์”
GDTT ได้ช่วยให้การดูแลสุขภาพเข้าถึงได้ง่ายขึ้นด้วยการพัฒนาขีดความสามารถในการให้บริการของบริษัทอย่างรวดเร็ว ภายในหนึ่งปีหลังจากการเปิดตัวในประเทศไทย บริษัทได้ตั้งคลินิกแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นในใจกลางกรุงเทพฯ และมีทีมแพทย์ประจำบริษัทที่ให้บริการอย่างมีคุณภาพแก่ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทั้งผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ภายในปีที่ผ่านมา ขนาดของการดำเนินการได้โตขึ้นถึง 400 เปอร์เซ็นต์ เครือข่ายร้านขายยาทั่วประเทศของเราครอบคลุม 350 ร้าน ใน 40 จังหวัด และบริษัทยังมุ่งจะเพิ่มจำนวนร้านขายยาเป็นสองเท่าในปีใหม่นี้ การขยายตัวอย่างรวดเร็วนี้ทำให้คลินิกของเรารับประกันได้ว่าผู้ป่วยจะสามารถติดต่อแพทย์ได้ภายใน 60 วินาที โดยไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้า และได้รับคำแนะนำแผนการรักษาภายใน 15 นาที ใน
ขณะเดียวกันเครือข่ายร้านขายยาขนาดใหญ่ที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศช่วยให้ GDTT สามารถส่งยาให้ผู้ป่วยได้ภายใน 1 ชั่วโมง และด้วยขีดความสามารถเหล่านี้ทำให้ GDTT มีจำนวนผู้รับบริการที่มาจากองค์กรต่างๆเพิ่มขึ้นถึง 270 เท่า นอกจากนี้ทีมแพทย์ของบริษัทได้ให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวนมากที่สุดในเขตปทุมวันภายใต้โครงการกักตัวดูแลที่บ้าน หรือ Home Isolation ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือ NHSO และจำนวนหนึ่งในห้าของจำนวนผู้รับบริการนั้นมาจากการที่ผู้ป่วยบอกต่อกัน